รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน
กองการศึกษาตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน : นายชวลิต แก้วเก้า
โรงเรียน : อนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน
ปีที่ประเมิน : 2562
การประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบจำลองการประเมิน CPO (CPO’S Evaluation Model) ด้านปัจจัย พื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช(3) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 31 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร-ครู จำนวน 19 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูที่เป็นผู้นิเทศ ครูผู้สอนที่รับการนิเทศ และคณะกรรมการสถานศึกษา สำหรับใช้ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .975 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูที่เป็นผู้นิเทศ ครูผู้สอนที่รับการนิเทศ ใช้ประเมินด้านกระบวนการระหว่างดำเนินโครงการ (Process) จำนวน 55 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .979 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูที่เป็นผู้นิเทศ ใช้ประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) คือประสิทธิภาพการสอนของครู จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .973 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามสำหรับครูผู้รับการนิเทศ ใช้ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือความต้องการจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) รองลงมา คือ ความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินการ (Readiness and resources) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือวัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives)
2. กระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินกิจกรรมโครงการ (Activity) รองลงมา คือ ช่วงเวลาการดำเนินการ (Timing)
3. ผลผลิตของโครงการ (Outcome) เกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแสดงความใส่ใจในงานสอน รองลงมา คือ การสร้างความชัดเจนในบทเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
4. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนเทศบาลตำบลทางพูน
กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเตรียมการ
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังดำเนินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนเทศบาลตำบลทางพูน กองการศึกษา เทศบาลตำบลทางพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีการศึกษา 2562 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ที่ระดับดี (3) ขึ้นไป