รายงานการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาควา
โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถครูในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูปฐมวัย จำนวน 8 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง 2) เด็กปฐมวัย จำนวน 201 คน 3) ศึกษานิเทศก์จำนวน 2 คน 4) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และ 5) ครูแกนนำปฐมวัย จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ครูปฐมวัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
2) แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย เป็นแบบเกณฑ์ประมาณค่า 5 ระดับคุณภาพ 3) แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 4) แบบสอบถามความพึงพอใจครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูแกนนำปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ เป็นแบบเกณฑ์ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test
ผลการวิจัย
1. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ได้รูปแบบการนิเทศที่มีองค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ โครงสร้าง หลักการ และกระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นรู้คุณค่าในตน (Awareness of Self-value) ขั้นกำหนด ผลเพื่อพัฒนา (Define Goals to Develop)ขั้น หาแนวร่วมวิทยาการ (Seek Fellowships of Knowledge) ขั้นปฏิบัติงานเข้มแข็ง (Work Hard) และขั้นแสดงผลร่วมภาคภูมิใจ (Be Proud of Success) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ พบว่า ดัชนีความสอดคล้องรายด้านระหว่าง 0.84 – 1.00 และดัชนีความสอดคล้องรวม (TOC) = 1.00 เอกสารแนวดำเนินการนิเทศการศึกษาปฐมวัย : การนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ผลการประเมินด้านความเหมาะสมและประโยชน์ ของเอกสาร คะแนนเฉลี่ยรวม = 4.50 อยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการทดลองใช้และเผยแพร่รูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ พบว่า 1) ผล การทดสอบความรู้ครูปฐมวัย พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ความสามารถครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย พบว่า พัฒนาการทุกด้านอยู่ในระดับ ดี สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 4) ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ
พึงพอใจมากที่สุดและ 5) ความคิดเห็นของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูแกนนำปฐมวัย ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบเสริมต่อการเรียนรู้ พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับ มากทั้ง 3 กลุ่ม