เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นรำโทนบ้านสีทาใต้ ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย
2. เด็กหญิงกนกวรรณ สีปาน
3. เด็กชายราชัน ชวน
อาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูอัจฉรีวรรณ ประดิษฐวงษ์ และ คุณครูสราลี จันทรศร
โครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง สังกัดเทศบาล ตำบลแก่งคอย 140 ถ.ถวิลวัฒนา
อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110 โทรศัพท์ (036) 251918
บทคัดย่อ
จากการเรียนวิชาท้องถิ่นเล่าเรื่อง เมืองแก่งคอย ทำให้พวกเราเกิดความสนใจที่จะศึกษารำโทนบ้านสีทาใต้ ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รู้จักการละเล่นพื้นบ้านรำโทนและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรำโทนที่บรรพบุรุษได้สืบสานต่อกันมาให้ดำรงไว้ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและเป็นประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลังได้มีวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงออกถึง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและร่วมอนุรักษ์ รำโทนบ้านสีทาใต้ ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอยจังหวัดสระบุรี โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และสังเกต สัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า
บ้านสีทาใต้ ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ การรำโทนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองแบบชาวบ้านสีทาใต้ เรียกกลุ่มรำโทนของตนเองว่า “กลุ่มรำโทนร่วมใจไทยสีทา” ภูมิปัญญาท้องถิ่นรำโทนบ้านสีทาใต้ มีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 6 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 ไหว้ครูกระทำเพื่อเป็นการเคารพบูชาครู เพื่อระลึกถึง พ่อแม่ ย่า ตา-ยาย คนเฒ่าคนแก่ผู้ที่เคยรวมกลุ่มกันรำโทนสมัยก่อน ซึ่งถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นครู องค์ประกอบที่ 2 บทเพลงรำโทนส่วนใหญ่ของบ้านสีทาใต้จะเป็นลักษณะของการกระเซ้าเย้าแหย่เกี้ยวพาราสี การร้องเพลงจะร้องวนช้ำกัน 3- 4 รอบ และไม่มีชื่อเพลงครบทุกเพลง จะใช้ประโยคแรกของบทเพลงเป็นชื่อเพลงเมื่อจะร้องเพลงใด คนที่ร้องนำก็จะขึ้นวรรคแรก คนอื่น ๆ ก็จะร้องตาม สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภท ตามเนื้อหาของเพลงนั้น ๆ คือ เพลงประเภทปลุกใจ เพลงประเภทเบ็ดเตล็ด เพลงประเภทส่งเสริมวัฒนธรรม และเพลงประเภทเกี้ยวพาราสี องค์ประกอบที่ 3 นักดนตรีและเครื่องดนตรี นักดนตรีของบ้านสีทาใต้จะเป็นผู้หญิงทั้งหมด เครื่องดนตรี หลักจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ โทน ฉิ่ง กรับ องค์ประกอบที่ 4 ผู้รำและท่ารำ กลุ่มผู้รำของรำโทนบ้านสีทาใต้ เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในการละเล่นพื้นบ้านรำโทน เนื่องจากใคร ๆ ก็รำได้ ไม่มีท่ารำที่ตายตัว ท่ารำนั้นสมาชิกใช้ท่ารำวงมาตรฐานบ้างและคิดประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันบ้าง ซึ่งท่ารำที่ใช้ประจำจะมีอยู่ 5 ท่า คือ ท่ารำสอดสร้อยมาลาที่นำมาจากรำวงมาตรฐาน ท่าบังแดด ท่าแบกถาดขนม ท่ากวาดบ้านถูบ้าน และท่ายกของ องค์ประกอบที่ 5 รำโทนบ้านสีทาใต้ ไม่ได้ใช้เครื่องแต่งกาย เพื่อแบ่งแยกผู้แสดงว่าเป็นนักร้องนักดนตรี หรือผู้รำ ในการแสดงแต่ละครั้งทุกคนจะแต่งกายเหมือนกันหมด ทางกลุ่มรำโทนจะเป็นผู้เลือกชุดที่ใช้ในการแสดงเอง องค์ประกอบที่ 6 โอกาสในการละเล่น และโอกาสในการแสดง ชาวบ้านสีทาใต้จะละเล่นรำโทนกันในงานมงคล และจะไม่เล่นรำโทนในงานอวมงคลทั้งหลาย การละเล่นรำโทนนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการละเล่น
เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และการแสดงการละเล่นเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม โดยจากการแลกเปลี่ยนความคิดกับคณะรำโทนบ้านสีทาใต้ ได้เสนอแนวทางการอนุรักษ์ไว้ คือ 1) จัดให้มีการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ในสถานศึกษา มีการบันทึกภูมิปัญญา 2) จัดให้มีข้อมูล เอกสารประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นรำโทน และ 3) มีสื่อเอกสาร วีดิทัศน์ เพื่อการเรียนรู้และเผยแพร่ให้คนภายนอกจังหวัดได้รู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่นรำโทนมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป