รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ฯ
ชื่อผู้วิจัย นายโกศล มิตรพระพันธ์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) เพื่อสร้างรูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) เพื่อศึกษาการนำไปใช้และผลการใช้รูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบActive Learning 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายและนักเรียน จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) แบบประเมินรูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 4) แบบประเมินผลการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่าสภาพการดำเนินงานของระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่อยู่ในเกณฑ์ระดับ มากที่สุด ได้แก่ การวางแผนพัฒนาสถานศึกษาของการกำหนดแผนการพัฒนาสถานศึกษาการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ เทคโนโลยี การพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการตรวจสอบ วัด และประเมินผล ส่วนสภาพการดำเนินงานที่อยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก ได้แก่การกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารการวางแผนพัฒนาสถานศึกษาของการศึกษาสภาพสถานศึกษาการวางแผนพัฒนาสถานศึกษาของการกำหนดทิศทางสถานศึกษาการวางแผนพัฒนาสถานศึกษาของการติดตาม ประเมินผล การพัฒนาบุคลากร ผู้บริหาร ครู และนักเรียนและการพัฒนาการเรียนการสอน
2. ผลการสร้างรูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่า การสร้างรูปแบบระบบการบริหารและการนำไปทดลองใช้กับโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบหลักที่ 1 ด้านการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วย การบริหารแบบร่วมคณะกรรมการสถานศึกษา และการสร้างทีมงานครูและเครือข่าย องค์ประกอบหลักที่ 2 ด้านการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมคณะผู้บริหารสถานศึกษา และครูในแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย การบริหารการส่งเสริมความรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (พัฒนางานบริหาร) การบริหารการส่งเสริมทักษะแบบพหุปัญญา (พัฒนาด้านการเรียนรู้) และ การบริหารการส่งเสริมประสบการณ์ด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อรู้คิด (PLC) และองค์ประกอบหลักที่ 3 ด้านการส่งเสริมเพื่อการบริหารสถานศึกษาด้วยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วย การจัดเนื้อหาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้สมองเป็นฐาน การจัดวัตถุประสงค์การศึกษาที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดเจตคติทางการศึกษาเพื่อประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยองค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์
3. ผลการศึกษาการนำไปใช้และผลการใช้รูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learningพบว่า ผลการใช้รูปแบบระบบการบริหารและการนำไปทดลองใช้กับโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ทำให้ทราบถึงสมรรถนะในการดำเนินงานแต่ละด้าน ดังนี้ คือ 1) ด้านการบริหารแบบร่วมคณะกรรมการสถานศึกษา 2) ด้านการสร้างทีมงานครูและเครือข่าย 3) ด้านการบริหารการพัฒนาความรู้โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4) ด้านการพัฒนาเพื่อการบริหารสถานศึกษาด้วยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และผลผลิตทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยทุกด้านสามารถปฏิบัติได้ดี
4. ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้รูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พบว่า
ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบระบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม บุคลากรทางการศึกษา และด้านความถูกต้องสามารถนำไปปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา