LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรี

usericon

บทสรุป
    การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นความสอดคล้อง และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการความพร้อมของอาคารสถานที่ ความเพียงพอของงบประมาณ และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินงาน 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงานตามโครงการ การนิเทศ ควบคุม กำกับติดตาม     4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 5 กิจกรรม นิสัยรักการอ่านของนักเรียนที่เกิดจากโครงการ ความพึงพอใจของนักเรียนและสภาพการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังโครงการ ดังนี้ 4.1) กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 5 กิจกรรม 4.2) นิสัยรักการอ่านของนักเรียนที่เกิดจากโครงการ 4.3) ความพึงพอใจของนักเรียน 4.4) สภาพการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังโครงการ
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 615 คน แยกรายละเอียดกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1) คณะครูจำนวน 61 คน เลือกเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง 551 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ฉบับ และแบบสำรวจข้อมูลจำนวน 1 ฉบับ เครื่องมือทุกฉบับได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและได้นำไปทดลองเพื่อหาค่าของความเชื่อมั่น ปรากฏมีความค่าความสอดคล้องและค่าความเชื่อมั่นสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สำหรับแบบสำรวจสภาพการอ่าน ไม่ได้หาค่าความสอดคล้องและค่าความเชื่อมั่น เพราะเป็นแบบสำรวจที่ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนสร้างขึ้นและใช้ทุกปีการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

สรุปผลการประเมิน
    1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านบริบท มีผลการประเมินสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.44, S.D. = 0.274) รองลงมาด้านกระบวนการ (x ̅ = 4.42, S.D. = 0.289) และด้านปัจจัยนำเข้า (x ̅ = 4.41, S.D. = 0.257) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านบริบท โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.44, S.D. = 0.274) โดยข้อที่ 2 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 1 และ 3 ตามลำดับ
3. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.41, S.D. = 0.257) โดยข้อที่ 7 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 3 และ 6 ตามลำดับ
4. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.42, S.D. = 0.289) โดยข้อที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 1 และ 10 ตามลำดับ
5. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิตทุกกิจกรรม ตามความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามกิจกรรม พบว่า กิจกรรมห้องสมุดมีผลการประเมินสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.39, S.D. = 0.277) และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีผลการประเมินต่ำที่สุด แต่ยังคงอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.18, S.D. = 0.330)
6. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิต กิจกรรมห้องสมุด ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.39, S.D. = 0.277) โดยข้อที่ 1 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 10 และ 3 ตามลำดับ
7. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิต กิจกรรมอ่านทุกคน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.36, S.D. = 0.253) โดยข้อที่ 1 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 9 และ 10 ตามลำดับ
8. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิต กิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.27, S.D. = 0.339) โดยข้อที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 8 และ 4 ตามลำดับ
9. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิต กิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.28, S.D. = 0.317) โดยข้อที่ 8 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 3 และ 4 ตามลำดับ
10. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน ด้านผลผลิต กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.18, S.D. = 0.330) โดยข้อที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 8 และ 4 ตามลำดับ
11. ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียนจากโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22, S.D. = 0.253) โดยข้อที่ 4 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 10 และ 6 ตามลำดับ
12. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนเขาชัยสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.309) โดยข้อที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อที่ 8 และ 3 ตามลำดับ
13. ความแตกต่างสภาพการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนโครงการและหลังโครงการมีความแตกต่างกัน โดยก่อนโครงการสภาพการอ่านโดยรวม อ่านคล่อง 175 คน คิดเป็นร้อยละ 91.15 อ่านไม่คล่อง 17 คน คิดเป็นร้อยละ 8.85 ขณะที่สภาพการอ่านหลังโครงการ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านคล่องทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100
ข้อเสนอแนะ
    1. การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดหลักการและเหตุผลรวมทั้งเพื่อพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการดังกล่าว การชี้ประเด็นปัญหาตลอดจนการพิจารณาความเหมาะสมของเป้าหมายของโครงการ ดังนั้น การประเมินครั้งนี้ โรงเรียนเขาชัยสนได้ประโยชน์ ซึ่งจะนำไปปรับปรุงโครงการในปีงบประมาณถัดไป โดยดูค่าเฉลี่ยของด้านบริบทข้อใดหรือบริบทใดยังต้องพัฒนา
    2. การประเมินตัวป้อนเข้า (Input evaluation) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ตลอดจนเทคโนโลยี และแผนของการดำเนินการจึงเป็นประโยชน์ที่จะตรวจสิ่งที่ยังบกพร่องหรือยังไม่ถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมจะได้ปรับปรุงต่อไป
    3. การประเมินกระบวนการ (Process evaluation) ส่วนนี้เป็นการประเมิน 3.1) หาข้อ บกพร่องของการดำเนินโครงการ เพื่อทำการแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อบกพร่องนั้น ๆ 3.2) หาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะสั่งการเพื่อพัฒนางานต่าง ๆ 3.3) บันทึกภาวะของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐาน
    4. ประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น (Product evaluation) เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้แต่ต้นรวมทั้งการพิจารณาในประเด็นของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการ
    5. ควรประเมินผลกระทบของโครงการที่มีการดำเนินการแล้ว ซึ่งผลกระทบจะเกิดจากผลลัพธ์ของโครงการหรือของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
    6. ควรประเมินการบริหารจัดการ ใช้กับโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งหมายความว่าผู้บริหารจัดการโครงการได้กำหนดเป้าหมายหรือความตั้งใจของผลของโครงการไว้แล้ว โดยเฉพาะประชากรเป้าหมายก็ได้กำหนดไว้แล้วและกำลังดำเนินการอยู่และต้องการทราบประสิทธิผลของการบริหารโครงการ
    7. ควรประเมินกระบวนการดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการเริ่มดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ได้รับผิดชอบในการให้บริการที่จะปรับปรุงวิธีการให้บริการที่ดีขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการมีความเข้าใจมากขึ้นถึงแนวทางการดำเนินงานและเหตุผลที่ทำเช่นนั้น
    8. ควรประเมินแผนโครงการ จะเกี่ยวกับการให้ความกระจ่างกับความคล้องจองของโครงการ ความต้องการหรือความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาความคล้องจองหรือความตรงประเด็นของโครงการก็เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโครงการยังมิได้มีรายละเอียดไว้ชัดเจน
    9. ควรประเมินเพื่อการพัฒนา เป็นวิธีการประเมินผลที่จะต้องดำเนินการก่อนการวางแผนโครงการ ซึ่งผลจากการประเมินจะช่วยในการตัดสินใจว่าโครงการนั้น ๆ ควรจะบรรลุกิจกรรมใดบ้าง

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^