LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19

usericon

ชื่อเรื่อง     รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร)
สังกัดเทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย         นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา     2564

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังxxxร) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์ โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ
การพัฒนา ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในวิถีการเรียนรู้ใหม่ กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพครูให้พร้อมรับวิถีการเรียนรู้ใหม่ กลยุทธ์ 3 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ และกลยุทธ์ 4 การเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายการจัดการศึกษา ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) สรุปได้ดังนี้ ผลการบริหารจัดการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการศึกษามีการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียนมีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่พลิกผัน มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีทรัพยากร อุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์เพียงพอในการดำเนินงาน ครูมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์และความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ ตามคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยจากโรคโควิด 19 มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน มีทรัพยากร ข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการศึกษาที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์การรับรู้ และประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายจัดการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2563 และมีค่าร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาสูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านตามเกณฑ์ อยู่ในระดับดี ถึงดีมาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4 ปีการศึกษา 2564 ด้านการกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ผลประเมิน ระดับดีเยี่ยม และมีผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^