การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย หทัยรัตน์ อิทธเบญญาภา
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการสร้างรูปแบบการสอนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ซึ่งมีนักเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกันไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 7) แบบประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และแนวทางการพัฒนาการจัด การเรียนการสอนโดยการสร้างรูปแบบการสอนที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า มีปัญหาด้านครูผู้สอน ด้านสื่อการสอน ด้านผู้เรียนและด้านอื่น ๆ
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีชื่อเรียกว่า “PEAUPACE Model” (พีอีเอ ยูแพค อี โมเดล) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน (Preparation : P) ขั้นที่ 2 การทบทวนความรู้เดิม นำเสนอสิ่งที่ควรเรียนรู้ใหม่ (Elicitation and Presentation of Learning : E) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติกิจกรรม (Active Learning : A) ประกอบด้วย 3.1) การทำความเข้าใจบทเรียน/สิ่งที่ควรเรียนรู้ (Use Systems Thing : U) 3.2) การวางแผนการเรียนรู้ (Planning by Collaboration : P) 3.3) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการปฏิบัติตามแผน (Analysis by Team Learning : A) 3.4) สรุปผลการวิเคราะห์ นำเสนอผลงาน (Conclusion and Presentation : C) และ ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluation of Learning : E) โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.98/84.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้
3.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอน แบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีดังนี้
4.1 รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการรับรองรูปแบบจากครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด