การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ
ผู้ศึกษา ชนิดาภา วชิรบูรณ์สุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 20 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่การคิดวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ รูปแบบการเรียนการสอน Shanida Model เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ รูปเรขาคณิตสู่การทำโครงงานคณิตศาสตร์ ใช้ระยะในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 30 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ค่าดัชนีประสิทธิผลและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)