LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code

usericon

ผู้วิจัย นางสาวบุศรา ศรีดาคุณ
ปีที่วิจัย พ.ศ.2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน
การสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออก
เสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียน
การสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออก
เสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้
แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริม
การอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการ
วิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 5
ชุมชนก้านเหลือง จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้มีดังนี้ แบบประเมินข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบ
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้
ความสำคัญกับนักเรียนด้านการสื่อสาร และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีซึ่งได้กำหนดเป็น
สมรรถภาพสำคัญของนักเรียน ซึ่งพบว่านักเรียนขาดความสามารถในการอ่านออกเสียงสะกดคำ
ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเห็น
ด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียน
กลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการ
สอนให้มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน และนักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้อย่างเต็ม
ศักยภาพ
2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียน
กลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ประกอบด้วยองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) รูปแบบการจัดการ
เรียนการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ 2.1) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 2.2) ระบบทางสังคม
2.3) หลักการตอบสนอง และ 2.4) ระบบสนับสนุน 3) การนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้
และ 4) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยมีกระบวนการในการจัดการเรียนการ
สอนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นเรียนรู้จากสื่อออนไลน์ 3) ขั้นอภิปราย
4) ขั้นทำกิจกรรม 5) ขั้นประยุกต์ใช้ และ 6) ขั้นประเมินผล โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.64, S.D. = 0.37) มีประสิทธิภาพ 83.06/89.56 สูงกว่าเกณฑ์
ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิด
ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 มีดังนี้3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR Code
โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี QR
Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.8626 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.26
3.3) การอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย
เทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำ
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย
เทคโนโลยี QR Code โดยประยุกต์ใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงสะกดคำ
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.65, S.D. = 0.63)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^