รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โรงเรียนเทศบาลหัวดง..
โรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) เทศบาลตำบลหัวดง
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) เทศบาลตำบลหัวดง
อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังxxxร) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์ โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร)
การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) 4) การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ศึกษาสภาพการการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) จากการศึกษาสภาพการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) สภาพบริบท ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ต่อการจัดการเรียนการสอน เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียน และรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้เกี่ยวข้อง การทำประชาพิจารณ์ความเห็นของ คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จากผลการศึกษาสภาพพบว่าสิ่งที่เป็นประเด็นในการพิจารณาที่สำคัญเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการศึกษา 2) ด้านครูผู้สอน 3) ด้านนักเรียน และ 4) ด้านความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายในการจัดการศึกษา
2. การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยผู้วิจัยได้ยกร่างรูปแบบสังเคราะห์เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียน และนำร่างไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางสังเคราะห์รูปแบบพัฒนาศักยภาพวิชาการ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในวิถีการเรียนรู้ใหม่ กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพครูให้พร้อมรับวิถี กลยุทธ์ 3 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ และกลยุทธ์ 4 การเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายการจัดการศึกษา
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพศักยภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด 19 ของโรงเรียนเทศบาลหัวดง(ป.ฟักอังxxxร) สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการบริหารจัดการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการศึกษามีการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียนมีการปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่พลิกผัน ฝ่ายงาน 4 ฝ่าย คือ ฝ่านแผนงาน ธุรการ การเงินและพัสดุ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายบริหารทั่วไปและงานบุคล มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีทรัพยากร อุปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์เพียงพอในการดำเนินงาน ครูมีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์และความพร้อมของนักเรียนและผ็ปกครอง การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน และนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในวิถีใหม่ ตามคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการเรียน ด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยจากโรคโควิด 19 มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน มีทรัพยากร ข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนการจัดการศึกที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์การรับรู้ และประสานความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายจัดการศึกษา 2) ผลการพัฒนาศักยภาพครู พบว่า ครูได้รับการพัฒนาตนเองด้านการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 และทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน สามารถออกแบบกิจกรรมได้หลากหลายตามความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง มีการพัฒนานวัตกรรม สื่อการเรียนการสอน ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสร้างชุมชนแห่งการ มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนและพัฒนาคุณภาพการสอนได้ทุกคน ครูได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในการทำงานในสถานการณ์โควิด 19 และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 3) ผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนปรับตัวมีความพร้อมในการเรียนรู้แบบวิถีใหม่ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้และสื่อเทคโนโลยีปัจจุบันได้ทุกทีทุกเวลา มีทักษะในการเรียนรู้และการสืบค้นความรู้เพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง(Active Learning) จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง และพึ่งตนเองได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 4) ผลการเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชนและเครือข่ายการจัดการศึกษา พบว่า ชุมชนและเครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายองค์กรต่าง ในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมากขึ้น มีการจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง สถานศึกษาเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก้ไขปัญหาของนักเรียน และมีการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ ส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 5) ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2563 และมีค่าร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชา ในปีการศึกษา 2564 สูงกว่าค่าเป้าหมายของสถานศึกษา 6) ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านตามเกณฑ์ อยู่ในระดับดี ถึงดีมาก ผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 4 ปีการศึกษา 2564 ด้านการกระบวนการบริหารและการจัดการ ระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ผลประเมิน ระดับดีเยี่ยม
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกรองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศึกษา พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด