การประเมินโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียน
มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ เพื่อประเมิน 1) บริบท (Context Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 2) ปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 3) กระบวนการ (Process Evaluation) ของการดำเนินโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 4) ผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 5) ผลกระทบ (Impact Evaluation) ที่เกิดจากความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 6) ประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดกับตัวผู้ร่วมโครงการหลังสิ้นสุดโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ 7) ความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้ร่วมโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ และ 8) การถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดกับ ผู้ร่วมโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ในการถ่ายทอดความรู้ ขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่น ในครั้งนี้ผู้ประเมินได้รวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 73 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3-6 จำนวน 39 คน ซึ่งเป็นนักเรียนที่สามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scales) จำนวน 8 ฉบับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ สรุปผลดังนี้
ผลการวิเคราะห์การประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของการดำเนินโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับสูงสุด ได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะทางสังคม อยู่ในระดับมากรองลงมาได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างพลังความรู้สู่ สุขภาวะทางจิต อยู่ในระดับมาก กิจกรรมเสริมสร้างพลังความรู้สู่ สุขภาวะทางจิตวิญาณ อยู่ในระดับมาก และลำดับต่ำสุด ได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะทางกาย อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) ที่เกิดจากความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดกับตัวผู้ร่วมโครงการหลังสิ้นสุดโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของผู้ร่วมโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์การประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดกับ ผู้ร่วมโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ ในการถ่ายทอดความรู้ ขยายองค์ความรู้ไปสู่ผู้อื่น ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก