รายงานการประเมินโครงการ
โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ผู้รายงาน นางสาวเพชรอาภรณ์ พูนพิน
หน่วยงาน โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการปรับปรุงห้องเรียนออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล โรงเรียน
ศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ เป็นการประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลอง
ซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ประกอบด้วย ๔ ด้าน แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่
๑ ก่อนดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท (Context) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ระยะที่ ๒ ระหว่าง
ดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และระยะที่ ๓ หลังดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต
(Product) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการปรับปรุงห้องเรียน
ออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ๒) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของ
โครงการปรับปรุงห้องเรียนออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔
๓) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการปรับปรุงห้องเรียนออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล
โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ และ ๔) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการปรับปรุงห้องเรียน
ออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๔.๑) ผลสัมฤทธิ์
ของโครงการปรับปรุงห้องเรียนออนไลน์ ก้าวสู่มาตรฐานสากล โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔
และ ๔.๒) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินโครงการปรับปรุงห้องเรียนออนไลน์ ก้าวสู่
มาตรฐานสากล โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ปีการศึกษา ๒๕๖๔
ผู้ให้ข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๗๘๑ คน ได้แก่ ๑) นักเรียนโรงเรียนศึกษานารี
วิทยา จำนวน ๓๓๘ คน ๒) ครูโรงเรียนศึกษานารีวิทยา จำนวน ๙๗ คน ๓) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนศึกษา
นารีวิทยา จำนวน ๓๓๘ คน และ ๔) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน เครื่องมือที่ใช้เป็น
แบบสอบถามจำนวน ๖ ฉบับ ได้แก่ ๑) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการฯ
๒) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ ๓) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อ
กระบวนการดำเนินงานตามโครงการฯ ๔) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อผลผลิตของโครงการฯ เกี่ยวกับ
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ ๕ ) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ การวิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
๑. บริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการฯ ในส่วนของความต้องการจำเป็นในการดำเนิน
โครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และ ความ
เป็นไปได้ของโครงการ มีความจำเป็นเหมาะสม และเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒. ปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ ในส่วนของความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของ
งบประมาณและระยะเวลา ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ และการบริหารจัดการ มีความ
เหมาะสม/เพียงพอในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๓. กระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ในส่วนของการวางการดำเนินงาน การดำเนิน
โครงการ การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และ การนำผลไปปรับปรุงพัฒนามีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่
ในระดับมาก
๔. ผลผลิตของกระบวนการดำเนินงานของโครงการฯ ดังนี้
๔.๑ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ มีระดับการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
๔.๒ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการฯ ระดับความพึงพอใจในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก