นวัตกรรมแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย
ความเป็นมาและความสำคัญ
นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทย คือ งานหรือกิจกรรมที่ครูสร้างขึ้นโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และช่วยฝึกทักษะต่างๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งอาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้ และเป็นการช่วยเสริมให้นักเรียนมีทักษะสูงยิ่งขึ้นที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนให้มีคุณภาพขึ้น จัดการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนรู้นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๕ อย่างมีเหตุและผลด้วยกระบวนการแนวทางบันได ๖ ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ฝึกอ่านทุกวันคำ ประโยคและเรื่องสั้นจากง่ายไปหายาก
ขั้นที่ 2 ฝึกการเขียนตามคำบอกจากสิ่งที่อ่าน
ขั้นที่ 3 การฝึกคัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย
ขั้นที่ 4 การวาดรูปประกอบคำด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสนุกไปกับงาน โดยมีการจำแนกคำออกมาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจการผสมคำมากขึ้น
ขั้นที่ 5 การนำคำมาแต่งเป็นประโยคที่สื่อสารรูปหรือเหตุการณ์จริง เช่น ใคร+ทำอะไร, ใคร+ทำอะไร+กับใคร เป็นต้น
ขั้นที่ 6 การเขียนคำตามภาพวาดโดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของนักเรียนเอง
เพื่อให้กิจกรรมที่มีความหลากหลายและส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการอ่านและคิดวิเคราะห์จากเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุและผล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยด้วยกระบวนการแนวทางบันได ๖ ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของผู้เรียนอย่างมีเหตุและผล
๓. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๔. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของผู้เรียนอย่างมีเหตุและผลที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยด้วยกระบวนการแนวทางบันได ๖ ขั้น ที่ผ่านการพัฒนา
2. ได้พัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง Active Learning โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและจัดกิจกรรมการเรียนตามแนวทางบันได 6 ขั้น
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๕ อย่างมีเหตุและผลด้วยกระบวนการแนวทางบันได ๖ ขั้น ซึ่งเกิดจากการอ่านไม่ออก เขียนสะกดคำไม่ถูกต้องเพราะเนื่องจากผู้เรียนยังขาดการฝึกทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยได้ไม่เต็มตามศักยภาพ