รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวน
ผู้ศึกษา ชนิดาภา วชิรบูรณ์สุข
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด (QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐานไว้ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการ คิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 18 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental design) ผู้ศึกษาดำเนินการทดลองตามรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำสองครั้ง (One group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จำนวน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR code) จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และ ค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1.แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด(QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.49/86.76
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด(QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด(QR code) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ มีค่าเท่ากับ 0.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.00 สูงกว่าเกณฑ์ คือร้อยละ 50 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง พหุนาม โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ร่วมกับเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด(QR code) สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 4 วัดบางแพรกเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด