LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567

นวัตกรรมการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมโดยใช้ NIYOM MODEL เพื่อพั

usericon

ชื่อผลงาน/นวัตกรรม…การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมโดยใช้ NIYOM MODEL เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา……………………………………………………………………………………………..
ชื่อเจ้าของผลงาน/นวัตกรรม……นายสมรภูมิ อ่อนอุ่น…………………………………………………………………………
โรงเรียน……นิยมราษฎร์วิทยา….สังกัด….สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1……
หมายเลขโทรศัพท์…081-0365961…….E-mail….oonoun_71@hotmail.com………………………………..
ประเภทผลงาน  ด้านการบริหาร  ด้านการจัดการเรียนการสอน
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน/นวัตกรรม
1.    ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมที่นำเสนอ
1.1 เหตุผลที่เกิดแรงบันดาลใจ ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการ
ทิศทางการพัฒนาประเทศกำหนดขึ้นบนพื้นฐานการเสริมสร้างทุนของประเทศทั้งทุนทางสังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และอัญเชิญ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมไทยจึงให้ความสำคัญลำดับสูงกับการพัฒนาคุณภาพคน เนื่องจาก “คน” เป็นทั้งเป้าหมายสุดท้ายที่จะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบจากการพัฒนา ขณะเดียวกันเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อไปสู่เป้าประสงค์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพคนในทุกมิติอย่างสมดุลทั้งจิตใจ ร่างกาย ความรู้และทักษะความสามารถ เพื่อให้เพียบพร้อมทั้งด้าน “คุณธรรม” และ “ความรู้” ซึ่งจะนำไปสู่การคิดวิเคราะห์อย่าง “มีเหตุผล” รอบคอบและระมัดระวัง ด้วยจิตสานึกในศีลธรรมและ “คุณธรรม” ทำให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถตัดสินใจโดยใช้หลัก “ความพอประมาณ” ในการดำเนินชีวิตอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร อันจะเป็น “ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี” ให้คนพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่นและสังคมที่สงบสันติสุข ขณะเดียวกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ มีเสถียรภาพและเป็นธรรม รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐาน การดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นาไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550,หน้า 47)
สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันพบว่า คนไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤตด้านคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรม เชื่อมโยงถึงการดำเนินชีวิต ความประพฤติ ความคิด ทัศนคติและคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม เป็นผลกระทบจากการเลื่อนไหลของวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้าสู่ประเทศไทยผ่านสื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสร้างสรรค์ยังมีน้อย สื่อที่เป็นภัยและผิดกฎหมายมีการเผยแพร่มากขึ้น แม้มีมาตรการปราบปรามอย่างเข้มงวด เว็บบริการทางเพศเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ขณะที่คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนยังไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับสถาบันทางสังคม อาทิ สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษามีบทบาทน้อยลง ในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาศักยภาพคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545, หน้า 50)
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนไทย คือ ขาดการปลูกฝังในด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างยั่งยืน คืออาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวยไม่เกิดผลที่ถาวร ในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นคนที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและ จิตใจ มีสติปัญญามีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร, 2550, หน้า 49) ดังผลการศึกษา พบว่า สังคมไทยในปัจจุบันมีปัญหาจริยธรรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับน้อย สาเหตุสำคัญที่สุดมาจากครอบครัว ซึ่งมีการอบรมเลี้ยงดูที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดตัวแบบที่ดี ไม่ส่งเสริมการก่อตั้งและพัฒนาจริยธรรมในตัวคนอย่างสมบูรณ์ ทำให้เด็กและเยาวชนขาดจิตสำนึกที่ดี ขาดความรับผิดชอบ และขาดคุณธรรม จริยธรรมด้านอื่นๆ ที่สำคัญที่เป็นภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่ดีให้แก่คน ทำให้เด็กและเยาวชนมีการเน้นด้านวัตถุมากกว่าจิตใจตลอดจนการมีความประพฤติปฏิบัติและพฤติกรรมที่ขาดความยับยั้งชั่งใจถูกชักจูงได้ง่ายและมีการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาจากช่องทางต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่อประเภทต่างๆ ซึ่งไม่เป็นตัวแบบที่ดีและยังไม่มีบทลงโทษหรือระบบป้องกันที่ดี ที่มีประสิทธิภาพที่พอเพียงทำให้เกิดตัวแบบในเชิงลบและเกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผิดๆได้ ระบบการศึกษาขาดประสิทธิภาพไม่สามารถปลูกฝังเยาวชนให้มีจิตสำนึกได้ ขาดผู้ที่เป็นตัวแบบที่ดีการเรียนการสอนไม่เน้นหนักด้านคุณธรรมจริยธรรม ไม่มีการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาจิตสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม (เพ็ญแข ประจนปัจจนึก, 2551, หน้า 2)
    ดังนั้นการที่จะทำให้คนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ได้นั้น ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือช่วยกันในการส่งเสริมบทบาทครอบครัว องค์กรทางการศาสนา โรงเรียน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจเอกชน อาสาสมัครและสื่อมวลชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้เป็นกลไกเกื้อหนุนให้คนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีความสามัคคี ความรักชาติ มีจิตสานึกรับผิดชอบต่อสังคม และลดปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบรวมทั้งมีส่วนสนับสนุนการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนตลอดทุกช่วงอายุ โดยสร้างการปลูกจิตสำนึกในความรักชาติ และความเป็นไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยเน้นการรณรงค์ให้ทุกฝ่ายในสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้มีหน่วยงานต่าง ๆจัดกิจกรรมดำเนินการกระตุ้นให้คนไทยมีระเบียบวินัย รู้จักหน้าที่ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความสามัคคี และความรักชาติ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่สำคัญ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550, หน้า 47)
    จากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน โดยการระดมความคิดเห็นจากครู กรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า นักเรียนมีปัญหาด้านความประพฤติหลายประการ ได้แก่ ขาดความรับผิดชอบ ขาดความกระตือรือร้นในด้านการเรียนและไม่มีระเบียบวินัย ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ และจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน พบว่า การพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รวมถึงมีวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องควบคู่กับการให้ความรู้ทางวิชาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งการปลูกฝังอบรมคุณธรรมจริยธรรมจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างความศรัทธา ความตระหนัก และความมุ่งมั่นที่จะกระทำความดีแก่นักเรียนในวัยเรียนได้ดี (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550, หน้า 3)
    จากความสำคัญของปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าว ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม จึงได้ดำเนินการสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม NIYOM MODEL เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา เพื่อนำมาใช้เป็นหลักการและแนวทางในการบริหารสถานศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
1.2     แนวคิด หลักการสำคัญที่เกี่ยงข้องกับผลงานหรือนวัตกรรมสามารถอ้างอิงถึงแนวคิด หลักการ
ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างนวัตกรรม ได้แก่ ทฤษฎี y (Theory y) ของแมคเกรเกอร์(Mc Gregor ๑๙๖๐) ที่มีแนวคิดว่าผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ จะต้องพยายามสนับสนุนและพัฒนาการทำงานของผู้ร่วมงาน ให้เข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจในส่วนที่มีผลกับตัว เขา เพิ่มโอกาสด้านความพึงพอใจทางสังคม เพิ่มความรับผิดชอบ เพื่อให้เห็นว่าเขาเป็นบุคคลคนสำคัญ และ เชื่อมั่นในความสามารถ และเพิ่มการมีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์การ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Need Hirachy Theory) และทฤษฎีสองปัจจัย(Motivation Hygien Theory) ของอับบราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) และเฟรเดอริคเฮิรซ์เบอร์ก (Frederick Herzberg) ซึ่งกล่าวไว้สอดคล้องกันว่า งานขั้นแรกของผู้บริหาร คือ การทำให้องค์การทำหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ไว้ซึ่งการที่จะทำเช่นนั้นได้ ผู้บริหารจะต้องใช้ความสามารถทุกวิถีทางที่จะทำให้ผู้ร่วมงานได้ปฏิบัติงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลดีต่อสถานศึกษา วิธีหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ได้อย่างดี คือ การจูงใจบุคลากร ในโรงเรียนทำงาน นั่นคือ ผู้บริหารต้องรู้และเข้าใจลำดับขั้นความต้องการของผู้ร่วมงาน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ ผู้ร่วมงานให้บรรลุผลสำเร็จ

2.    จุดประสงค์และเป้าหมาย
2.1 จุดประสงค์
        เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ในด้านคุณธรรม โดยใช้ NIYOM MODEL
2.2 เป้าหมาย
        2.2.1 คณะครูและบุคลากรโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา
        2.2.2 นักเรียนโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา

3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
    3.1 สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
        จากสภาพปัญหาของโรงเรียนและสังคม ในปัจจุบันของประเทศไทย พบว่า การใช้การศึกษาพัฒนาคนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา มีความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้านความรู้และทักษะ การพัฒนาด้านเจตคติดังกล่าวจะช่วยให้คนใช้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ เป็นคนดีของสังคมอย่างสมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนในแง่ของการพัฒนาเจตคติ การสร้างคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งปรากฏอยู่ในความหมายของการศึกษาเอาไว้ในมาตรา ๔ วรรคแรกว่า
         "การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคลากร และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"
        ในการสร้างความเจริญงอกงามของบุคคลากรและสังคมตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ คือ การพัฒนาเจตคติเพื่อเป็นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมีการกล่าวถึงการจัดการศึกษา ในลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน ในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เอาไว้อย่างเป็นระบบเริ่มจากความมุ่งหมายและหลักการ แนวทางการจัดการศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ สาระสำคัญของหลักสูตร และการประเมินผล โดยได้บัญญัติประเด็นดังกล่าวเอาไว้ในแต่ละมาตรา
        จากการรายงาน เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในรายวิชาหลัก 5 วิชาของนักเรียนยังต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ จึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาจึงกำหนดเป็นวาระหลักในการพัฒนาผู้เรียนให้มีการเพิ่มพูนศักยภาพทางด้านวิชาการและด้านคุณธรรม ทั้งนี้ในการดำเนินการพัฒนาต้องเป็นความร่วมมือกัน ในเป้าหมายสำคัญคือ การพัฒนาศักยภาพทางด้านวิชาการและด้านคุณธรรม ของผู้เรียนให้มีทักษะตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน จึงจำเป็นต้องจัดทำเป็นโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาในแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
-    ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้ต่อเนื่อง และต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องได้รับการส่งเสริมด้านทัศนคติที่ดีงามต่อความเป็นไทย ไม่หลงใหลกับค่านิยม วัตถุต่างชาติจนเกิดการลอกเลียนแบบ ทำให้ลืมวัฒนธรรมพื้นบ้านตนเองและวัฒนธรรมองค์กรและชุมชน

    3.2 การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
        รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมโดยใช้ NIYOM MODEL เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต1

        





NIYOM MODEL

N :    Network เครือข่าย
I :    Innovation นวัตกรรม
Y :    Yourself ด้วยตัวเอง
O :     Objective เป้าหมาย
                     M :     Management การจัดการ

        3.3 ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา
            การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมโดยใช้ NIYOM MODEL เพื่อพัฒนาคุณภาพ เริ่มจากการนำนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา โดยมีการวิเคราะห์นโยบายต่างๆ ตั้งแต่นโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษา มาหลอมรวมและบูรณาการในการทำงานร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นหลัก และมีการจัดตั้งองค์คณะบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา โดยการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง ร่วมพัฒนา” อย่างลงตัว
    การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-based Management) เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนานโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษาและร่วมมือดำเนินการทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและการบริหารทั่วไปโดยมุ่งเน้นผลผลิตผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญภายใต้การมีส่วนร่วมตลอดทั้งการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งโรงเรียน
นิยมราษฎร์วิทยาเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใจกลางของชุมชน และโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจาเป็นในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปพร้อมๆ กัน โดยการร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้แต่งตั้งองค์คณะบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารทางการศึกษา ได้แก่ 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 2) เครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 3) ศิษย์เก่าโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4) คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา จำนวน 9 คน เป็นผู้มีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา ร่วมกันคิดวางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยการจัดประชุมหารือ เพื่อหาฉันทามติในการวางเป้าหมายด้านคุณภาพการศึกษา ในด้านคุณธรรมของผู้เรียนเป็นหลัก แล้วนำผลสรุปของทิศทางการพัฒนาทางการศึกษามาเป็น Road Map ในการดำเนินการต่อไป โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
    ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษาและสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา โดยดำเนินการดังนี้
        1. ศึกษานโยบาย เพื่อใช้เป็นทิศทางหรือเป้าหมายในการดำเนินงานของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารงานขององค์กร โดยศึกษานโยบายด้านการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาดังนี้
        - นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
        - นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        - นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1
        - นโยบายของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา
        2. ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา โดยดำเนินการดังนี้
            2.1 ศึกษาข้อมูล เอกสารต่างๆ จากรายงานผลการดำเนินงานของโครงการและกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนแล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน
            2.2 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านคุณภาพผู้สอน ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ ด้านสื่อ เครื่องมือและนวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ซึ่งได้จำแนกความต้องการจาเป็นตามช่วงเวลาที่ต้องการ โดยกำหนดความต้องการจาเป็นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ความต้องการจำเป็นในปัจจุบัน (Present หรือ Current Needs) เช่น ความต้องการจำเป็นของครูในปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะในด้านคุณธรรมของผู้เรียน (2) ความต้องการจำเป็นในอนาคต (Future Needs) เป็นความต้องการจำเป็นที่กำหนดล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อการเตรียมการรับมือ หรือป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิด
            2.3 จัดการประชุมร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ศิษย์เก่าโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ตลอดจนองค์กรคณะบุคคล หน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา โดยการจัดประชุมร่วมกัน ในเชิงวิชาการ (ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ) และกึ่งวิชาการ (สภากาแฟ ฯลฯ) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาเพื่อสนองนโยบายการจัดการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ และหาความเห็นพ้องต้องกันหรือฉันทามติ (Consensus) ในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
    ขั้นตอนที่ 2 สร้างและดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา โดยดำเนินการดังนี้
        1. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานจากการบริหารที่ผ่านมาซึ่งได้นำหลักการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Base Management : SBM) มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาจนเป็นผลสำเร็จ โดยนำมาวิเคราะห์ถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่า การบริหารจัดการโดยส่งเสริมในด้านคุณธรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดคุณภาพแก่สถานศึกษามากที่สุด
        2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฏีในการบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมในด้านคุณธรรม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา จึงได้นำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมในด้านคุณธรรม ของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา มีองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมด 3 องค์ประกอบ คือ องค์คณะบุคคลหรือคณะกรรมการ กระบวนการการบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมในด้านคุณธรรม และขอบข่ายการบริหารสถานศึกษา มาดำเนินการดังนี้
            2.1 ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่าย โรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ซึ่งประกอบไปด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ผู้ปกครองโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา และศิษย์เก่าโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา             2.2 คณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ตามกระบวนการการบริหารสถานศึกษาโดยส่งเสริมในด้านคุณธรรม ทั้ง 5 องค์ประกอบ ตามขอบข่ายงาน โดยดำเนินการดังนี้

         เครือข่าย (Network)
        การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสารประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม เนื่องจากเป็นตัวกำหนดทิศทาง เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ที่จะทำให้สถานศึกษาดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด นั้นหมายถึง คณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
        1. คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals) เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาข้างหน้า ซึ่งมักจะมองในรูปของผลลัพธ์ (Outcomes) ในอนาคตกำหนดอย่างกว้าง ๆ
        2. คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันกำหนด วัตถุประสงค์ (Objective) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงจุดมุ่งหมาย (Goal) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อง่ายในการนาไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์จึงเป็นการกำหนดผลผลิต (Output) ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ๆ แต่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้
        3. คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4 ภาคีเครือข่าย นำเป้าหมาย (Targets) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงวัตถุประสงค์ให้เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น เป้าหมายจึงเป็นการกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนโดยจะกำหนดเป็นหน่วยนับที่วัดผลได้เชิงปริมาณ และกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุผลสำเร็จนั้นด้วย

         นวัตกรรม (Innovation)
        การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
            องค์ประกอบของนวัตกรรม
        1. เป็นสิ่งใหม่
        2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
        3. เป็นประโยชน์ ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
        4. เป็นที่ยอมรับ
        5. มีโอกาสในการพัฒนา

        ผู้บริหารสถานศึกษา มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ตามข้อสรุปของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4 ภาคีเครือข่าย อันประกอบไปด้วย 4 กลุ่มบริหาร คือ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน และกลุ่มบริหารทั่วไป ทำให้เกิดวิธีการปฏิบัติที่ดี ส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียน

         ด้วยตัวเอง (Yourself)
        การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ (Knowledge) จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แล้วนำความรู้มาทดลองใช้ ฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนา จนเกิดความชำนาญ สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้จนเกิดประโยชน์กับตัวเอง และส่วนรวม
        หน้าที่หลักของผู้บริหารในระดับต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากหน้าที่ต่างๆ ในการบริหาร กิจกรรมหรือองค์ประกอบของการอำนวยการจะประกอบด้วยแรงจูงใจ (Motivation) การติดต่อสื่อสาร (communication) และความเป็นผู้นำ (Leadership) โดยผู้บริหารในแต่ละองค์คณะบุคคลจะต้องพิจารณาประสานงานหรือสั่งการกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

         เป้าหมาย (Objective)
        การบริหารสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความคิด (ด้านพุทธิพิสัย) ด้านเจตคติ (ด้านจิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ด้านทักษะพิสัย) คือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย
ดังนั้น การบริหารสถานศึกษา จึงต้องตั้งจุดมุ่งหมายให้เกิดผลกับผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้

         Management (การจัดการ)
        การออกแบบ การบริหารราชการและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา โดยได้รับความเห็นพ้องต้องกันหรือฉันทามติของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา 4 ภาคีเครือข่าย นำไปสู่การปฏิบัติ โดยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมกันดำเนินงานตามแผนงาน โครงการที่กำหนดไว้จนบรรลุผลสำเร็จ โดยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
        1. การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในแผนปฏิบัติการ โดยการประชุมชี้แจงทาความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจทิศทางการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน โดยการประชุมครูและบุคลาการทางการศึกษา ประชุมคณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่าย เป็นต้น
        2. พัฒนากระบวนการจัดทำแผนงาน/โครงการของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ในลักษณะบูรณาการให้เชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน และส่งเสริมให้มีประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการประสานแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
        3. ในส่วนของการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่ายได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานในแต่ละประเด็นของนโยบาย ระยะเวลาในการประเมิน และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อให้การติดตามและประเมินผลมีมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน โดยมุ่งเน้นการประเมินผลตามนโยบายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน ตลอดจนนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประสานแผนงาน แผนอัตรากำลัง และแผนงบประมาณอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนงาน/โครงการโดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เน้นผลลัพธ์ของการดำเนินงานเป็นหลัก และสร้างมาตรการเร่งรัด หากมีแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการช้ากว่ากำหนด และตรวจสอบคุณภาพและการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ
        4. นำผลที่ได้จากการติดตามและประเมินผลมาปรับปรุงการจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
    จากกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ทั้ง 5 องค์ประกอบ ที่กล่าวมา ทำให้คณะกรรมการบริหาร 4 ภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละองค์คณะบุคคล จนทำให้คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยาพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จากผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารสถานศึกษาทั้งด้านผลผลิตและผลลัพธ์บังเกิดผลอย่างเด่นชัดและเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน และในด้านส่งคุณธรรม ในโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา เกิดผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับรางวัล ระดับประเทศ
    การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม โดยใช้ (NIYOM Model) เป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียน ซึ่งมีส่วนร่วมทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา ซึ่งการบริหารของโรงเรียน จะมีกระบวนการบริหารและการดำเนินงาน ทั้งหมด 5 องค์ประกอบ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้โดยใช้ (NIYOM Model) ได้แก่ 1) เครือข่าย (Network) 2) นวัตกรรม (Innovation) 3) ด้วยตัวเอง (Yourself) 4) เป้าหมาย (Objective) และ5) Management (การจัดการ) เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาจนทำให้โรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา ประสบผลสำเร็จในด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในด้านการส่งเสริมคุณธรรมแก่ผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้บริหารมีคุณภาพ และสถานศึกษาได้รับการยกย่องและชื่นชนจากผู้ปกครอง และชุมชน










    
    4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
    
    ผลการดำเนินงานเชิงประจักษ์ในเรื่องคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา
คะแนนการประเมินคุณภาพผู้เรียน (Local Assessment System : LAS)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ที่    ชื่อ - สกุล    รายการประเมิน    รวม 3 ด้าน (30 คะแนน)    คิดเป็นร้อยละ    ระดับคุณภาพ
        การอ่านออก (10 คะแนน)    การเขียนได้ (10 คะแนน)    การคิดเลขเป็น (10 คะแนน)            
        คะแนนที่ได้    ระดับคุณภาพ    คะแนนที่ได้    ระดับคุณภาพ    คะแนนที่ได้    ระดับคุณภาพ            
1    เด็กชายคณสรณ์ กองเกาะ    10    ดีมาก    8    ดีมาก    10    ดีมาก    28    93.33    ดีมาก
2    เด็กชายคณภรณ์ กองเกาะ    5    พอใช้    5    พอใช้    9    ดีมาก    19    63.33    ดี
3    เด็กชายภานุวัฒน์ จันทา    7    ดี    7    ดี    8    ดีมาก    22    73.33    ดี
4    เด็กชายพิษณุพนต์ กล่ำนิ    5    พอใช้    5    พอใช้    6    ดี    16    53.33    พอใช้
5    เด็กชายชัยวัฒน์ บุญศรี    8    ดีมาก    7    ดี    10    ดีมาก    25    83.33    ดีมาก
6    เด็กชายภาคิน หวังความชอบ    5    พอใช้    5    พอใช้    6    ดี    16    53.33    พอใช้
7    เด็กชายธนกฤต ประดิษฐ์    5    พอใช้    5    พอใช้    6    ดี    16    53.33    พอใช้
8    เด็กหญิงเอมพิกา ทุยตระxxxล    6    ดี    5    พอใช้    7    ดี    18    60.00    ดี
9    เด็กหญิงวรรณนิดา พินทา    9    ดีมาก    8    ด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^