LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย     :     การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อผู้วิจัย    :    นางกฤติกา อินใหม่
ปีที่วิจัย    :    2563-2564        
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ1)เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการสถานศึกษาโรงเรียนตะแพนพิทยา 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนตะแพนพิทยาที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองภาคสนามปีการศึกษา 2564 คือครูจำนวน 11 คน นักเรียนจำนวน 89 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 7 คน ผู้ปกครองจำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1)แบบประเมินรูปแบบการบริหารสถานจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับครูที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4)แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5)แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ Paired
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหาของโรงเรียนตะแพนพิทยาพบว่า ผู้เรียนต้องพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ประกอบไปด้วย 1) หลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)การทำงานเป็นทีม
2.รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบดังนี้ 1)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2)เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3)กลไกการดำเนินงานของรูปแบบ 4)รูปแบบที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาเฉพาะบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือรูปแบบ SST(SST Model )เป็นการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้หลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (S : SBM) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (S : SEPM) และการทำงานเป็นทีม ( T : Team) ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงค่าความเหมาะสมอยูในระดับมากที่สุด และมีค่าดรรชนีความสอดคล้อง(IOC)มีค่าตั้งแต่ 0.80 – 1.00
3. ผลจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST (SST Model) ที่สร้างและพัฒนาขึ้น พบว่า ในภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
    3.1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัยของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.6)คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านรักความเป็นไทยภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    3.8) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีจิตสาธารณะของนักเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนตะแพนพิทยามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST (SST Model) ส่งผลให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสูงขึ้น ควรนำผลการวิจัยนี้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
2.การนำรูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST (SST Model) ไปใช้ให้คำนึงถึงบริบท ข้อจำกัด และความพร้อมของแต่ละโรงเรียน
3.รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST (SST Model )ส่งผลให้คุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงขี้น สถานศึกษาควรนำข้อมูลนี้ไปวางแผนในการจัดการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆให้สูงขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยนี้
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1..ควรนำรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ SST (SST Model) ไปใช้กับโรงเรียนต่างๆ ทีมีบริบทใกล้เคียงกัน เพื่อนำข้อสนเทศที่ได้มาพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น
2.ควรมีงานวิจัยต่อยอดงานวิจัยการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมหลักปรัชญาเของเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียนตะแพนพิทยาให้ยั่งยืนต่อไป
3.ควรมีงานวิจัยการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนโรงเรียนตะแพนพิทยาโดยใช้แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^