รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวสุกัญญา แก้วมณี
รองผู้อำนวยการโรงเรียนไชยาวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล ของสตัฟเฟิลบีม ในการประเมินโครงการ โดยมีวิธีดำเนินการประเมิน ดังนี้ แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ตลอดจนความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ และความเหมาะสมของการบริหารจัดการ ระยะที่ 2 ระหว่างการดําเนินโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร การดำเนินโครงการ และการตรวจสอบโครงการ และระยะที่ 3 หลังสิ้นสุดโครงการ ผู้ประเมินได้ประเมินผลการดำเนินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 10 องค์ประกอบ และผลกระทบที่มีต่อนักเรียนจากการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ฝ่ายบริหารของโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นักเรียน และผู้ปกครอง จำนวน 721 คนใช้เครื่องมือประเภทแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา ตามความคิดเห็นของผู้ฝ่ายบริหารของโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.55) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความสอดคล้องเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53,S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.50) และความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.65)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา ตามความคิดเห็นของผู้ฝ่ายบริหารของโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.15,S.D. = 0.47) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.49) และความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.42)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา ตามความคิดเห็นของผู้ฝ่ายบริหารของโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ การตรวจสอบโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.49) และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.46)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร มี 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา ตัวชี้วัด การดำเนินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 10 องค์ประกอบ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.50) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ องค์ประกอบที่ 3 ด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 6 ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.50) และองค์ประกอบที่ 2 ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.50)
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนไชยาวิทยา ตัวชี้วัด ผลกระทบที่มีต่อนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.50) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ มีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ มีสุขภาพจิตดี มีนิสัยร่าเริงแจ่มใส และมองโลกในแง่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.48) และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ มีบุคลิกภาพทางกายและทางจิตที่เหมาะสมกับวัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.49)