การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
ผู้รายงาน นางสาวณัชปภา ภักตร์วิลัย
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps หลังเรียนและก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps กลุ่มตัวอยางในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จํานวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง จำนวน 10 แผน รวม 10 คาบ 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง จำนวน 4 ชุด 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.84/80.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps หลังเรียนและก่อนเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง โดยใช้รูปแบบการสอนตามกระบวนการ GPAS 5 Steps พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้