ผลการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางสาวบัวสร วุฒิศักดิ์ชัยกุล
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีจุดประสงค์ เพื่อ
ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย และ
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่เด็กปฐมวัย อายุ 4 – 5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ห้อง 4 จำนวน 27 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลองครักษ์ ( ผดุงองครักษ์ประชา ) ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยและแบบประเมินพฤติกรรมในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาของตนเอง ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ปัญหาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.85 การวิเคราะห์ข้อมูล1.หาค่าสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนการทดลอง
และหลังการทดลอง 2.เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้ค่าแจกแจง t-test สำหรับ dependent samples
สรุปผล
หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย ในภาพรวม เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการแก้ปัญหาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแก้ปัญหาของตนเอง ด้านการแก้ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น และด้านการแก้ปัญหาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น มีพฤติกรรม การแก้ปัญหาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01