กิจกรรม การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning
ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา อำเภอเมือง กลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำปาง เขต 1
ชื่อผู้บริหารสถานศึกษา
ชื่อ นางพรณิชา ขัดฝั้น
ชื่อครูที่ส่งผลงาน
ชื่อ นางเกตุสุดา อนุรักษ์ธงไชย
ชื่อ นางสาวธนาทิพย์ เมืองงาว
. โครงการ/กิจกรรม “การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning”
ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณิตศาสตร์ ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ อันเป็นรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ การศึกษาคณิตศาสตร์จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์
การจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบ Active learning หรือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีความหมายและน าไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นโรงเรียนแม่ก๋งวิทยา จึงได้พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิชา คณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active learning เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านสื่อ และจากกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และกระตุ้นให้เกิดองค์ความรู้ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อวิชา คณิตศาสตร์
จุดประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา จากาการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ Active learning
2. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่ก่งวิทยา จำนวน 15 คน
2. นักเรียนร้อยละ 80% มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน หลังจากาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ “Active Learning”
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนได้เรียนรู้โดยใช้การเรียนการสอน รูปแบบ Active Learning
2. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์
กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินงานในการสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนการรู้ โดยใช้รูปแบบ Active learning ดำเนินงาน โดยการใช้กระบวนการดำเนินงานด้วยรูปแบบ PDCA
ขั้นที่ 1 วางแผน (P = Plan) ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อวางแผนในการออกแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน
ขั้นที่ 2 ดำเนินการ (D = Do) ลงมือตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ ทั้งการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ต้องสอดคล้องกับผู้เรียน และจัดการเรียนการตามตามแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active learning ตามแผนการสอนที่จัดทำ
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบผลการดำเนินงาน (C = Check) เมื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครูตรวจสอบ หาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา (A = Action) เป็นขั้น ครูสรุปผลการตรวจสอบ ติดตามผล เพื่อนำมาแก้ไข และพัฒนาผลงานในครั้งนี้
ผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่ส่งผล
ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน หลังจากาจากาการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบ Active learning สูงขึ้น
2.นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/นวัตกรรม
1. ได้แผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนการสอนจากกากปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ จากการเรียนการสอนรูปแบบ Active learning
ปัจจัยความสำเร็จ
1. การสนับสนุนจากโรงเรียนผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดหลักสูตรการจัดการเรียนรู้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนา
2. นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
1การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน
2 การดำเนินกิจกรรมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการที่สำคัญ คือ ปัจจัยด้านความพร้อมของครูผู้สอนและนักเรียน
3 การดำเนินกิจกรรมที่บรรลุผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย
4 ผู้ปกครองนับเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน