การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมี
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ ของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
ผู้วิจัย นายปรีชา สุขศรี
ปีที่วิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของ โรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2) พัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งระบบของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 และ 3) ประเมินผลการใช้ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งระบบของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน 108 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินรูปแบบ คู่มือการใช้รูปแบบ แบบบันทึกการประชุม แบบนิเทศติดตามผล และแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จํานวน 3 ฉบับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.81, 0.84, 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis และวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนให้ ความสําคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนากระบวนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพใน 3 ด้านคือ ด้านการบริหารงานตามภารกิจหลักของโรงเรียน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป ด้านหน้าที่การบริหาร ได้แก่ การนํา การวางแผน การจัด องค์การการควบคุม ด้านการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่ หลักการบริหารตนเอง หลักการ กระจายอํานาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพ ทั้งระบบของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพ ทั้งระบบของโรงเรียน บ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยภาพรวม มีความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการประเมินรายองค์ประกอบของ รูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด 2) คู่มือการใช้รูปแบบ มีความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายผลการประเมินที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ
การจัดรูปแบบการพิมพ์มีความเหมาะสม ความเหมาะสมของการเรียงลําดับของเนื้อหา ความชัดเจน ของหลักการและเหตุผล คู่มืออ่านแล้วเข้าใจง่ายและสะดวกในการนําไปใช้ในสถานการณ์จริง และ ความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ความชัดเจนของเนื้อหาที่นําเสนอในคู่มือ
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนา คุณภาพทั้งระบบของโรงเรียนบ้านนามีน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1 ใน 3 ประเด็นคือ 1) การนิเทศติดตามผลการใช้รูปแบบ พบว่า โรงเรียนได้ ดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร์/แผนงบประมาณ/แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณโครงการ/ กิจกรรมในการพัฒนาการจัดการศึกษา ที่มุ่งเน้นการมีส่วนรวมและการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนและสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามขอบข่ายงานตามภารกิจหลัก ของโรงเรียนคือ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป 2) การประเมิน ประสิทธิผลของรูปแบบโดยภาพรวม พบว่า ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ที่สุด ส่วนความเป็นไปได้ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบของ รูปแบบแล้ว มีผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ใน ระดับมาก ถึงมากที่สุด และ 3) การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบโดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจต่อการนํารูปแบบไปใช้ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วทุกด้านคือ ด้าน การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ด้านภารกิจหลักในการบริหารโรงเรียน และด้านหน้าที่การบริหาร มีความพึงพอใจต่อการนํารูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมาก