LASTEST NEWS

28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567 27 ก.ค. 2567เช็กด่วน!! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 25 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 5 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เปิดสอบพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 18,000.- บาท สนใจสมัครตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน “ตามแนวทางโรง

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน “ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน     นายอยุทธา ศรีจันทร์งาม
        ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเกาะลิบง
ปีที่รายงาน     ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน “ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP-Model) ของสตัฟเฟิลบีม เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย
        1. ระดับคุณภาพการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน “ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564    
        2. สุขภาวะที่ดีของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ
        3. คุณภาพด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564
        4. พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้
        5. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน “ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี” โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564
โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน รวมทั้งสิ้น 22 คน กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 22 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน เครื่องมือการประเมินที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตั้งแต่ .80 -.89 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ดังนี้
    1.    ผลการประเมิน ด้านบริบทของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัดทั้งสี่ด้าน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.24, S.D. = 0.56) และเมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ค่าเฉลี่ยสูงสุดมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.37, S.D.= 0.39) รองลงมาความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมที่ระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.69) ส่วนความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.11, S.D = 0.53) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2.    ผลการการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัดทั้งห้าด้าน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ความเพียงพอของงบประมาณความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = 0.66) รองลงมา ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ อยู่ที่ระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.41) ส่วนหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.62) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.19, S.D. = 0.42) รองลงมา คือ นักเรียน ความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.10, S.D. = 0.43) และ ครู มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.41) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.     ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ได้คะแนน 60 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำแนกผลการประเมิน ดังนี้
    4.1     ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียน ค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.39) รองลงมาคือ ครู มีคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.01, S.D. = 0.38) ส่วน ผู้ปกครอง คุณภาพอยู่ที่ระดับมาก ( = 3.95, S.D. = 0.41) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.2     ผลการประเมินตามสภาพจริงด้านผลผลิตเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุของนักเรียน โรงเรียนบ้านเกาะลิบง หลังดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมสภาวะสุขภาพของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 96.51 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพแต่ละด้าน พบว่า ด้านไม่มีปัญหาภาวะทางทันตกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 100 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ไม่มีภาวะโภชนาการ มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 97.67 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วนมีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 93.02 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
4.3     ผลการประเมินตามสภาพจริงด้านผลผลิตเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ลุกนั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที และนั่งงอตัวไปข้างหน้า หลังดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 94.77 และเมื่อพิจารณาสมรรถภาพทางกาย แต่ละรายการ พบว่า ลุกนั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที และนั่งงอตัวไปข้างหน้า มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุดเท่ากันร้อยละ 95.35 รองลงมาได้แก่ ดัชนีมวลกายสมส่วน ร้อยละ 93.02
4.4    ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้หลังการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครูตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.39, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.10, S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5     ผลการประเมินด้านผลผลิตความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด
ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยสูงสุดความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.56) รองลงมาคือ นักเรียน ความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.38) ส่วน ครู ความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.00, S.D. = 0.42) มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี โรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผลการประเมินด้านบริบท ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านปัจจัยนำ เข้าค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านกระบวนการค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านผลผลิต ค่าน้ำหนักรวม 60 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 60 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินครอบคลุม 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
    1.1    ควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี ที่กำลังดำเนินการอยู่ให้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายของโรงเรียนอย่างยั่งยืน
    1.2    ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบควรนำกิจกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวทางโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี ประยุกต์ใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมแต่ละโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบในการพัฒนาสุขภาพของนักเรียน
    1.3    ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาสุขภาพนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาต่อไป
    1.4    ครูที่ปรึกษาควรสร้างความเข้าใจอันดี มีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนและผู้ปกครอง มีเวลาพบปะพูดคุยกับนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
2.    ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1    ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2.2    ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3    ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน






    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^