LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาครูคณิตศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ชุดฝึกอบรมสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
ผู้ศึกษา    นางสาวเบญญาภา หลวงราช
ปีที่ทำเสร็จ    พ.ศ. 2565

บทคัดย่อ

รายงานผลการนิเทศเพื่อพัฒนาครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ชุดฝึกอบรมสำหรับครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพชุดฝึกอบรมการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring 3) ศึกษาความสามารถของครู ในการสร้างและใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ชุดฝึกอบรมการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อชุดฝึกอบรมการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring และการนิเทศ ติดตามของศึกษานิเทศก์ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2) ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่สมัครใจเข้ารับการอบรม 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกับครูที่สมัครใจเข้ารับการอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring 2) แนวทางการใช้ชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring 3) แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 44 ข้อ 1 ฉบับ 4) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครู มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 1 ฉบับ 5) แบบบันทึกการนิเทศติดตามผลการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ 1 ฉบับ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring และการนิเทศ ติดตามของศึกษานิเทศก์ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ 1 ฉบับ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) 2) หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้เทคนิคกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ (เทคนิค 25%) 3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบของครูในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ K-R 20 4) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจ ด้วยวิธีการหาความคงที่ภายใน จากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 5) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดฝึกอบรม เรื่อง การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูภายหลังจากการเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ที่ได้สร้างขึ้น โดยใช้ค่าเฉลี่ย (µ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)

สรุปผลการศึกษา
    ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินคุณภาพชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน โดยประเมินโครงสร้างและกิจกรรมชุดฝึกอบรมทั้ง 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 : ความสำคัญ และการออกแบบสื่อการสอน หน่วยที่ 2 : การใช้งานโปรแกรม Photoscape หน่วยที่ 3 : การใช้งานโปรแกรม Audacity หน่วยที่4 : การใช้งาน Microsoft PowerPoint หน่วยที่ 5 : การใช้งานโปรแกรม iSpring มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ
2. ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจเรื่องการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ก่อน และหลังการใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 13.57 คะแนน และมีคะแนนหลังเรียน เท่ากับ 24.17 คะแนน โดยมีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนเรียนเพิ่มขึ้น 10.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.11
3. ผลการพัฒนาความสามารถของครูในการสร้างและใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring โดยใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดเตรียมสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วัดและประเมินผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring และการนิเทศ ติดตามของศึกษานิเทศก์ สำหรับความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมครูคณิตศาสตร์ในการการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ชุดฝึกอบรมเล่มนี้มีการเรียบเรียงเนื้อหาที่เป็นขั้นตอน ชุดฝึกอบรมเล่มนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงในปัจจุบัน ชุดฝึกอบรมเล่มนี้มีการนำเสนอด้วยการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 4.50 และ 4.47 ตามลำดับ สำหรับความพึงพอใจต่อการนิเทศ ติดตามของศึกษานิเทศก์ พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศ ติดตามของศึกษานิเทศก์ในภาพรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า รายการที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ บุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานนิเทศ การส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจ ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้รับบริการ และการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ปัญหาในด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 4.87 และ 4.83 ตามลำดับ
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนรู้สึกชอบและสนุกเมื่อได้เรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring การเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น นักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้จากสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ด้วย iSpring ที่ครูนำมาใช้สอน และครูใช้สื่อได้ตรงตามเนื้อหาที่สอนได้อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 2.89 และ 2.93 ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^