LASTEST NEWS

24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

กิจกรรม “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ”

usericon

รายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การนำจุดเน้นตามบโยบายการจัดการศึกษา
ของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา อำเภอเมือง กลุ่มเครือข่ายแม่ตุ๋ย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
ผู้บริหารสถานศึกษา
ชื่อ นางพรณิชา ขัดฝั้น
ผู้จัดทำ
ชื่อ นางสาวศรีบุตร เxxxยอุตร     
ชื่อ นางงามตา มามิ่ง         
ชื่อ ว่าที่ร้อยตรีสิทธิศักดิ์ บุญมา

1.ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
เนื่องจากโรงเรียนแม่ก๋งวิทยาได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการอ่านและการเขียน จึงได้ศึกษาสภาพปัญหา พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนบางส่วนยังขาดทักษะการอ่าน การเขียน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ทุกคน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” ในการส่งเสริมการส่งเสริมการอ่านและการเขียน ให้อ่านคล่องเขียนคล่อง ด้วยกระบวนการทางวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถอ่านออก เขียนได้ทุกคนและมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
2.วัตถุประสงค์
    1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่ก๋งวิทยา จากาการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ”
    2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบ O-NET ของนักเรียน
3.เป้าหมายการดำเนินงาน
3.1เป้าหมายเชิงปริมาณ
    1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่ก่งวิทยา จำนวน 12 คน
    2. นักเรียนร้อยละ 80% มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน หลังจากาการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ”
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น
3.2เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนอย่างมีคุณภาพ
    2. นักเรียนได้รับการพัฒนาทางการเรียนในการสอบ O-NET อย่างมีคุณภาพ
4.กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
    การดำเนินงานในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน โดยใช้กระบวนการดำเนินงานด้วยรูปแบบ PDCA
ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงานในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน ตามรูปแบบกระบวนการ PDCA ดังนี้
ขั้นที่ 1 วางแผน (P = Plan) ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อวางแผนในการออกแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ”
ขั้นที่ 2 ดำเนินการ (D = Do) ลงมือตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดรายละเอียดไว้ ทั้งการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ต้องสอดคล้องกับผู้เรียนและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาให้ถูกต้องตามทักษกระบวนการจัดกการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย เพื่อตรวจหาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด ดังนี้
-คณะครูผู้รับผิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม
-ได้นวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” ดังนี้
1.ครูผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการใช้วัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ”
2.นักเรียนทำบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน
3.แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3-4 คน ศึกษาเรียนรู้และอ่านนิทาน เรื่องสั้นและอื่น ๆ จากหนังสือ 3 มิติ
4. ครูผู้สอนได้ถ่ายทอดวิธีการสร้างหนังสือ 3 มิติ ให้แก่นักเรียน
5. แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมกันออกแบบหนังสือ 3 มิติ
6. ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอผลงานหนังสือ 3 มิติ ของกลุ่ม หน้าชั้นเรียน
    7.ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบผลการดำเนินงาน (C = Check) เมื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วครูตรวจสอบ หาข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขปรับปรุงจนพอใจและดีที่สุด
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา (A = Action) เป็นขั้นที่ครูสรุปผลการตรวจสอบ ติดตามผล เพื่อนำมาแก้ไข และพัฒนาผลงานในครั้งนี้
5. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
5.1 ระบุผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงานที่ส่งผล
ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
    1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน หลังจากาการใช้นวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” สูงขึ้น
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น    
6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน/นวัตกรรม
    ได้นวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการสอบ O-NET สูงขึ้น ทำให้โรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนมากยิ่งขึ้น
7. ปัจจัยความสำเร็จ
    การสนับสนุนจากโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และครูสามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา “พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ด้วย หนังสือ 3 มิติ” และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนเป็นอย่างดี
8.บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
    การดำเนินงานที่เป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืนและปัจจัยด้านความพร้อมของครูผู้สอนและนักเรียน ตลอดจนถึงผู้ปกครองนับเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^