การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซิ
โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่อง
ตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวจิตตานันทิ์ แสงทอง
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 7 บ้านหนองตะมะพันทาโนนกอง (ธนาคารกรุงเทพ 2)
อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ
และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์
COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนา 2) การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบและแบบฝึกทักษะการเขียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนเรื่องตามจินตนาการ รายวิชาภาษาไทย เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23 - 0.79 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.31 - 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.83 2.2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 2.3) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Ranks Test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียน
ด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์ที่ชัดเจน รวมถึงขาดความมั่นใจในกระบวนการนำสู่การปฏิบัติ
ไม่มีรูปแบบ เอกสาร ตำรา การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์
ที่ชัดเจน และไม่มีที่ปรึกษาหรือครูที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง ด้านทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ ยังไม่มีขอบข่ายองค์ประกอบที่ชัดเจน ทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ควรมี
การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ให้กับครูโดยการนำมาสู่การปฏิบัติได้จริง มีรูปแบบ เทคนิค วิธีการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ให้เป็นรูปธรรม และมีคุณภาพ
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอน
การจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำ ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงานต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนทำ
2) ขั้นการสร้างอุปมาแบบตรง 3) ขั้นการสร้างอุปมาบุคคลหรือเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ 4) ขั้น
การสร้างอุปมาคำคู่ขัดแย้ง 5) ขั้นการอธิบายความหมายของคำคู่ขัดแย้ง และ 6) ขั้นการนำความคิดใหม่มาสร้างสรรค์งาน มีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, = 0.34)
3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏดังนี้
3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2) ทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, =0.51)
3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, =0.51)
4) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบ
ซินเนคติกส์ โดยใช้แบบฝึกการเขียนด้วยภาพสถานการณ์ COVID-19 เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
เรื่องตามจินตนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.72, = 0.45)