การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโคกคำวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
ผู้เสนอผลงาน นางสุทธดา รักษานาม
โรงเรียน โคกคำวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
ปีที่ผลิต 2564
………………………………………………………………………………………………………
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ครั้งนี้ ผู้ประเมินดำเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมความเหมาะสมของสถานศึกษา ความต้องการ ความเป็นประโยชน์ ความสอดคล้องกับกฎหมาย นโยบายสนองความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและจาก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล งบประมาณวัสดุ อุปกรณ์และการบริหารงาน มีความพอเพียง เหมาะสมกับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 3)เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process evaluation) เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการสอดคล้อง กับเป้าหมาย มีการวางแผน การดำเนินงาน การกำกับติดตามและประเมินผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และ4) เพื่อประเมินผลผลิต ( Product evaluation) ของโครงการ ดังนี้ 4.1) ความพึงพอใจของความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 4.2) ทักษะการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 261 จำนวน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโคกคำวิทยา จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกคำวิทยาจำนวน 116 คนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน โคกคำวิทยา จำนวน 116 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1.การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(=4.52,σ.=0.74) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือด้านปัจจัยนําเข้า (=4.59, σ.=0.61) ด้านกระบวนการ (=4.53, σ.=0.63) และด้านผลผลิต (=4.53, σ.=0.71)
2. ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.4.37,σ.=0.60) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ข้อ(6) หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพ ความเป็นจริงในปัจจุบัน(=4.83,σ.=0.31) ข้อ(5) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการฯมีความสอดคล้องกัน (=4.83,σ.=0.75) และ (10) สภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อ การดำเนินงานตามโครงการ (=4.52,σ.=0.60)
3.ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.59, σ.= 0.61) สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ข้อ (6) สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมและเพียงพอ (=4.83, σ.=0.41) ข้อ (5) วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนจัดหาอย่างเพียงพอ (=4.67 σ.=0.52) ข้อ (12) ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมและสนับสนุนเรื่องงบประมาณของโครงการ (=4.67, σ.=0.52)
4. ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.53, σ.= 0.61) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย3 อันดับแรก คือ ข้อ (12) โรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ (=4.57, σ.= 0.60) ข้อ(10) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกครั้ง (=4.56, σ.= 0.39) และ ข้อ (7) ผู้บริหารและครูมีการติดตามผลการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (=4.55, σ.= 0.66)
5. ด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=52,σ.= 0.71) เมื่อพิจารณารายกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ กิจกรรมสวนข่าสวนตระไคร้ (=4.62,σ.= 0.69) กิจกรรมปลูกมะละกอ(=4.62,σ.= 0.72) และกิจกรรมการเลี้ยงจิ้งหรีด(=4.59,σ.= 0.71)
6. นักเรียนมีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนโคกคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=57,σ.= 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ข้อ(10)กิจกรรมที่นักเรียนทำสามารถสร้างรายได้ให้นักเรียนในระหว่างเรียนได้ (=4.78,σ.= 0.63) ข้อ(8) อ(8) วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำกิจกรรมมีเพียงพอต่อความต้องการใช้และมีคุณภาพเ(=4.61,σ.= 0.63) และข้อ(9) นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข
7. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=53,σ.= 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ ด้านความมีคุณธรรม (=4.57,σ.= 0.68) ด้านด้านความมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง(=4.53,σ.= 0.65) และด้านความ มีเหตุผล(=4.53,σ.= 0.68)