รายงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนวัดลาดชะโด อยุธยา
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นเป็นไปได้ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ สถานที่และด้านการบริหารจัดการในการดำเนินโครงการ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมการปฏิบัติงานตามโครงการในขั้นตอนการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการรูปแบบของการประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 638 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 22 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 301 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 301 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 371 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 169 คน โดยสุ่มจากจำนวนประชากรด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายเทียบจากตารางการกำหนดค่าของ Krejcie and Morgan และผู้ปกครองจำนวน 169 คนโดยสุ่มแบบเจาะจงจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการมีค่าความเชื่อมั่น 0.73 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านกระบวนการของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นด้านผลผลิตของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่น 0.77 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar= 4.54 , S.D. = 0.50)
2. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar= 4.54 , S.D. = 0.51)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2564ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar= 4.57 , S.D. = 0.50)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร)ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar= 4.57 , S.D. = 0.50)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้วย Smile Model ของโรงเรียนวัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร)ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar= 4.51 , S.D. = 0.49)