รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด19
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวชุติมา แก้วไพฑูรย์
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านคลองกระทุ่มแบน (บุญเพ็งอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบจำลองการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ตามวิธีของ Daniel Stufflebeam (1971) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม/ด้านปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวม 41 คน กลุ่มที่ 2 ประเมินด้านกระบวนการ คือ คือ ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน กลุ่มที่ 3 ประเมินด้านผลผลิตโดยตรง คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 28 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 368 คน รวม 396 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด กลุ่มที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อม คือ การประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้อง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 384 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 192 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 192 คน ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวม 423 คน โรงเรียนบ้านคลอง กระทุ่มแบน (บุญเพ็งอุทิศ) ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบบสอบถามประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 ประเมินด้านผลผลิตโดยตรง โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการวัดผลประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาภาษาอังกฤษ ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2563 – 2564 ฉบับที่ 5 ประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อม โดยใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินผลว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (context) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความสอดคล้อง อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสอดคล้องของหลักการและเหตุผล รองลงมาคือ ความสอดคล้องของความเป็นไปได้ของโครงการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสอดคล้องของนโยบายที่เกี่ยวข้อง
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของโครงการ โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินงาน (Do) รองลงมาคือ การด้านการกำกับนิเทศ ติดตามและประเมินผล (Check) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตโดยตรงของโครงการ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการวัดผลประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาภาษาอังกฤษ ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 5.25 เมื่อพิจารณแยกตามวิชาพบว่า วิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นสูงสุด คือ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม รองลงมา คือ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปไม่เพิ่มขึ้น คือ วิชาภาษาอังกฤษ
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตโดยอ้อมของโครงการ ด้านความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ตอบแบบประเมิน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมา คือ ผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา