การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธย
วัฒโนทัยพายัพ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ผู้วิจัย พัชรินทร์ แสนแปง
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test) พบว่า ปี2559, 2560 และ 2562 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ย 37.17, 36.25 และ 31.84 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 50 จึงได้วิเคราะห์สาเหตุพบว่านักเรียนมีคะแนนด้านการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ต่ำ ในเรื่องการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงได้ทำการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/12 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาจากประชากรโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จำนวน 4 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 20 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลหลังเรียนแต่ละเรื่องจำนวน 4 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.90/82.64 และปีการศึกษา 2564 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.09/85.08 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (2.1) คะแนนการทดสอบก่อนและหลังเรียนปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2.2) คะแนนการทดสอบก่อนและหลังเรียนจำแนกตามขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา ปีการศึกษา 2563 และ 2564 ในภาพรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับร้อยละ 73.91 และ 84.64 ตามลำดับ 3. ด้านความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 และในภาพรวมปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60