การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางบังอร นิลดำ
ตำแหน่ง ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) และการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ
เชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางในการพัฒนา 2) การสร้างรูปแบบ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ
4) การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัด
การเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือฯและบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 - 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 2.2) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ มีมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.29 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 2.3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 2.4) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.34 – 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ One Sample t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ผู้เรียนไม่มีทักษะในการแก้ปัญหา หรือไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงผู้เรียนยังไม่มีความเด่นชัด ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการเรียน เมื่อศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลแล้วพบว่า ควรมีรูปแบบ เทคนิคการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ (Active Learning) ด้วยระบบออนไลน์ มีการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ การสร้างแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียน รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล
และมีกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา (Problem Identification) ขั้นที่ 2 ค้นคว้าคำตอบ (Collaborative Search for answers) ขั้นที่ 3 รอบคอบปฏิบัติ (Act to learning and sharing) ขั้นที่ 4 เด่นชัดผลงาน (Pronounced works)
ขั้นที่ 5 สืบสานความรู้ (Released to the public) มีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ
การเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.57)
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว หลังเรียนสูงกว่าก่อนเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลการประเมินทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.62)
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบ
การเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D.= 0.52)
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL: Problem based learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D.= 0.53)