การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม
ผู้วิจัย สัญญา โต๊ะหนู
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงวิเคราะห์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 8 แผน รวม 22 ชั่วโมง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบการคิดเชิงวิเคราะห์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 81.83/80.97 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ มีการคิดเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.24, SD. = 0.17) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สามอันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้มีความน่าสนใจ การประเมินผลการเรียนรู้มีความเหมาะสมและยุติธรรม และชุดกิจกรรมมีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม ตามลำดับ
คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ชุดกิจกรรม, การคิดเชิงวิเคราะห์
Title: The Study of the Effects of Exploration-Based Learning Management with the Activity Series on North America and South America Matthayomsuksa 3 students.
Researcher, Sanya Tohnu
School Pattaya City 8 School (Pattayanukul) under the Pattaya City Education Bureau
Research year 2020
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the effectiveness of a knowledge-seeking learning management together with the activity series on North and South America to develop the learning achievement and analytical thinking of Mathayomsuksa 3 students according to the 80/80 criterion 2) To compare academic achievement on North and South America, before and after the management of knowledge-seeking learning together with a series of activities. Subject North and South America 3) to compare analytical thinking before and after knowledge-seeking learning management together with a series of activities. Subject North and South America. And 4) to study the satisfaction with the management of knowledge-seeking learning together with the activity series on North and South America to develop academic achievement and critical thinking of secondary school students. The 3 sample groups used in this study were Mathayomsuksa 3/1 students at Muang Pattaya 8 School (Pattayanukul) under the Pattaya City Education Bureau, Chonburi Province 31 students who are studying in the second semester of Academic Year 2020 were obtained by Cluster Random Sampling. Research tools were Exploration-Based Learning Management Plan, 8 plans, totaling 22 hours. A knowledge-seeking learning test on North America South America Mathayomsuksa 3 students, an achievement test on North America South America Mathayomsuksa 3 students, analytical thinking test Mathayomsuksa 3 students and the satisfaction questionnaire of Mathayomsuksa 3 students towards the quest-to-learn learning arrangement together with the activity series on North and South America Analyze the data by averaging, standard deviation and t-test (t-test). The results showed that
1. Exploration-based learning management together with the activity series on North and South America to develop academic achievement and analytical thinking of Mathayomsuksa 3 students, the efficiency (E1/E2) was 81.83/80.97 which met the specified criteria.
2. Mathayomsuksa 3 students who received a quest-based learning experience together with the activity series on North and South America. The academic achievement after school was significantly higher than before at the .05 level.
3. Mathayomsuksa 3 students who received a quest-based learning experience together with the activity series on North and South America. Analytical thinking after school was significantly higher than before at the .05 level.
4. The students' satisfaction with the quest-to-learn learning arrangement together with the activity series on North and South America. In order to develop learning achievement and analytical thinking of Mathayomsuksa 3 students, the overall picture was at a high level ("X" ̅ = 4.24, SD. = 0.17) know is interesting Assessment of learning is appropriate and fair and the activity set has the appropriate font size, respectively.
Keywords: Knowledge-seeking learning, quest-based learning, activity series, analytical thinking