LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรั

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน     นายธีรกฤต สร้างการนอก
        รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
        โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ
        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ปีการศึกษา     2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของ แดเนียลแอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L.Stufflebeam) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,194 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 327 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเปิดตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ประกอบไปด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 3 คน 2) ครูจำนวน 57 คน 3) นักเรียน จำนวน 127 คน 4) ผู้ปกครอง จำนวน 127 คน และ 5) กรรมการสถานศึกษาไม่รวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ประสาทรัฐประชากิจ ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับ การดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2564 ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.    ในภาพรวม
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ปีการศึกษา 2564 ตามแบบสอบถามฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารและครู ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาแยกตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.47) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.50) ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.51) และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.49) โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย และตามแบบสอบถามฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฎว่า ด้านที่มี ผลการประเมินมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.49) โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย
2.    ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context)
ผลการประเมินโครงการด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นำนโยบายเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง มาใช้เพื่อการดำเนินโครงการได้เหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.43) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งที่โรงเรียน บ้านและชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.48)
3.    ด้านปัจจัย (Input)
ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.47) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้ปกครองมีเวลา ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = 0.50)
4.    ด้านกระบวนการ (Process)
     ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.95, S.D. = 0.22) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการสนับสนุน ยกย่อง นักเรียนที่ประกอบคุณงามความดี ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.60) ตามความคิดของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูที่ปรึกษามีการเยี่ยมบ้านนักเรียน มีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( = 4.85, S.D. = 0.36) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่หลากหลาย มีผลการประเมินในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.52)
5.    ด้านผลผลิต (Product)
ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ นักเรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี สามารถเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.47) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.49) โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ตามความคิดของนักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนรู้จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง พร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.44) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีจิตใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือผู้อื่น และสังคมอย่างสม่ำเสมอ มีผลการประเมินในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.48)
6.    ผลการประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ด้วยแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ด้านที่มีผล การประเมินมากที่สุด คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.49) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process) มีผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.55) ด้านผลผลิต (Product) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.54) และด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.57) โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย

คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^