LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การประเมินโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน

usericon

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน     พลวัฒน์ รุจยากรกุล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
     การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2564 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2564 3) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2564 4) ประเมินผลผลิตโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2564 แยกเป็น 2 ข้อ (4.1) ประเมินผลผลิตจากกระบวนการ (4.2) ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ ปีการศึกษา 2564 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ฝ่ายบริหาร คือ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ประชากรฝ่ายบริหาร 12 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ประชากรคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มที่ 3 ครู กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ประชากรครู 114 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มที่ 4 นักเรียน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดตังอย่างของ Taro Yamane ที่ความเชื่อมั่น 95 % ได้จำนวนตัวอย่างเท่ากับ 353 คน และเลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามxxxส่วนของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ มี 5 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
     1. ด้านบริบท (Context) ผลการประเมินตามความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.49, S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี (x-bar = 4.61, S.D. = 0.79) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การจัดบรรยากาศ และบริบทของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ (x-bar = 4.39, S.D. = 0.79)
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการประเมินตามความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร ครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.45, S.D. = 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี (x-bar = 4.61, S.D. = 0.79) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสื่อประกอบการสอนที่ใช้ในโครงการอย่างเพียงพอ (x-bar = 4.28, S.D. = 0.65)
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ผลการประเมินตามความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร ครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.43, S.D. = 0.73) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ มีการสรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมในโครงการ (x-bar = 4.54, S.D. = 0.72) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาก่อนจัดทำโครงการ (x-bar = 4.30, S.D. = 0.82)
4. ด้านผลผลิต (Product) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการ กิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน พิจารณาแยกเป็นประเด็นได้ ดังนี้
                    4.1 ผลการประเมินผลผลิตจากกระบวนการตามความคิดเห็นของฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.09, S.D. = 0.79) แบ่งออกเป็น 3 ด้าน
                        (1) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.07, S.D. = 0.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อครูและเพื่อนนักเรียน (x-bar = 4.30, S.D. = 0.75) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจและมีการถาม ตอบคำถามในการเรียนรู้อย่างมีเหตุผล (x-bar = 3.89, S.D. = 0.89)
                        (2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในภาพรวมพบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.07 , S.D. = 0.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ครูมีการติดตามนักเรียนสม่ำเสมอ ทั้งการส่งงาน การเข้าเรียน และการซ่อมเสริม (x-bar = 4.19, S.D. = 0.82) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ความเหมาะสมของภาระงาน/ชิ้นงานที่ครูมอบหมาย (x-bar = 3.83, S.D. = 0.94)
                        (3) ด้านประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมตามโครงการในภาพรวมพบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.16, S.D. = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ มีรายละเอียดกำหนดชัดเจนและผ่านการตรวจรับรองจากผู้บริหาร (x-bar = 4.18, S.D. = 0.76) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ จัดกิจกรรมที่หลากหลายโดยคำนึงถึงการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (x-bar = 4.12, S.D. = 0.78)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของฝ่ายบริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน ที่มีต่อโครงการกิจกรรมการนิเทศการเรียนการสอน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.08, S.D. = 0.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ การกำหนดและใช้สื่อการเรียนรู้ของครูผู้สอนแต่ละครั้ง (x-bar = 4.20, S.D. = 0.76) และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ รูปแบบการจัดกิจกรรมน่าสนใจ มีความหลากหลาย สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ (x-bar = 4.00, S.D. = 0.85)

คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, การนิเทศการเรียนการสอน, โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^