รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้
ผู้วิจัย นางสุจิรา รุ่งรัตน์ตระxxxล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 (2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 (4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 1 คน ครู จำนวน 18 คน และนักเรียน จำนวน 247 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ประกอบด้วย (1) ศตวรรษที่ 21 เป็นช่วงเวลาแห่ง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในหลากหลายเรื่องราว ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการเรียนรู้และวิธีแสวงหาความรู้มีการปรับเปลี่ยนไปจากระบบการศึกษาในรูปแบบดั้งเดิม ดังนั้นครูจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความคาดหวังขององค์การทั้งระดับโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ (2) สมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ จำนวน 52 พฤติกรรมบ่งชี้ และมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.19, S.D. = 0.70)
2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา วิธีการพัฒนากระบวนการพัฒนา การวัดและประเมินผล โดยกระบวนการพัฒนามี 3 ระดับ คือ ระดับโรงเรียน ระดับกลุ่ม และระดับบุคคล ซึ่งแต่ละระดับมีกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ ขั้นตรวจสอบ ติดตาม และขั้นประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.31, S.D.= 0.67) ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.33, S.D.= 0.64) ด้านความเหมาะสมเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.36, S.D.= 0.65) และด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก (x-bar = 4.33, S.D.= 0.64)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 พบว่า (1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน (2) สมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน (3) ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโนนจาน (เนตรขันธ์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.58, S.D. = 0.17) และจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของผู้บริหารและครู หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนางานและองค์ความรู้