การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์
ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสายใจ ธรรมาวุธ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช กองการศึกษาเทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อ
พัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 2.
เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนา สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริม
ทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะ
การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย 4. เพื่อประเมิน
ประสิทธิผล และปรับปรุง รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนา สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ของครูที่ ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยด าเนินการโดยการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน ซึ่ง
ประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะการมีส่วนร่วม (Participation) ระยะที่ 2 ระยะการเตรียมการ
(Preparing phase) ระยะที่ 3 ระยะการวางแผน (Planning phase) ระยะที่ 4 ระยะการปฏิบัติการ
(Doing phase) และ ระยะที่ 5 ระยะการประเมินผล(Evaluating phase) ผู้ศึกษาใช้เครื่องมือในการ
วิจัย จำนวน 11 ฉบับ คือ แบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ
แบบประเมิน จำนวน 4 ฉบับ แบบสนทนากลุ่ม จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นปฐมวัย นักเรียนระดับชั้นปฐมวัย และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้น
ปฐมวัย รวม 223 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ T-test
ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย ปรากฏผล ดังนี้
1.1 ทักษะการคิดของนักเรียนระดับปฐมวัยต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดหวัง
1.2 สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูในระดับต่ำกว่าที่คาดหวัง และ ครูมี
ความต้องการนิเทศภายในเพื่อนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาตนเอง และ พัฒนาการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้แก่นักเรียนปฐมวัย
2. ผลพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ของ
ครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัย จากการตรวจสอบความ สมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายใน พบว่า ค่าดัชนี ความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.80-1.00 แสดงว่า
รูปแบบมีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ได้จริง
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ของ
ครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยปรากฏผลดังนี้
3.1 สมรรถนะการนิเทศของครูก่อน และหลังการนิเทศ พบว่า
3.1.1 ครูมีความรู้เรื่องการนิเทศก่อน และหลังการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.1.2 ครูมีความสามารถในการ นิเทศ (การประเมินตนเอง ) ก่อน และหลังการนิเทศ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2 สมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน
พบว่า
3.2.1 ครูมีความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด (การ
ประเมินตนเอง) ก่อน และหลังการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2.2 ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิด (การ
ประเมินตนเอง) ก่อน และหลังการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.2.3 ผลจากการสังเกต และบันทึกพฤติกรรม และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของ
ครู พบว่า ครูมีการพัฒนาด้านความรู้ และความสามารถในการนิเทศสูงขึ้น
3.3 ทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยก่อน และหลัง การนิเทศ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการ
คิดของนักเรียนก่อนและหลังการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3.4 ผลจากการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการ คิดของนักเรียนปฐมวัย พบว่า รูปแบบการนิเทศ
ภายในเป็นรูปแบบที่เหมาะสม เพราะจะช่วยให้ครูความมั่นใจในการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียน มีกำลังใจ
และมีพลังที่จะปฏิบัติงาน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
4. ผลการประเมินประสิทธิผล และการปรับปรุงพัฒนา ปรากฏผล ดังนี้
4.1 ความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนา สมรรถนะการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนปฐมวัยพบว่า ใน ภาพรวมครูมีความพึง
พอใจ ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริม ทักษะ
การคิดของนักเรียนปฐมวัย พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ในระดับมาก