LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สพม.รบ.

usericon

รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ครั้งนี้ผู้รายงานใช้รูปแบบการประเมินแบบ IPOO Model (อ้างถึงใน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2551: 202-209) โดยมีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อรายผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ด้านปัจจัย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคคล 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านทรัพยากร อุปกรณ์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการ 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ด้านกระบวนการ 4 ด้าน (PDCA) ประกอบด้วย (1) การวางแผนกำหนดงาน (Plan) (2) การดำเนินกิจกรรม (Do) (3) การกำกับ นิเทศ ประเมินผลกิจกรรม (Check) 4) การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act) 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output Evaluation) โครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ในด้านพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชั้นเรียนประกอบด้วย (1) การเตรียมการสอน (2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (3) สื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และสื่อ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้และ (4) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ 4)เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome Evaluation) โครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 ในด้านระดับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชั้นเรียนโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ และระดับความพึงพอในต่อโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ รวมทั้งสิ้น 1,952 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบตัวเลือกที่กำหนด (Forced choice) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scales) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert scale) (บุญชม ศรีสะอาด. 2560: 70) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)

ผลการประเมิน พบว่า

1. ด้านปัจจัยนำเข้า(Input)
การประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ระดับความพร้อม/ความเหมาะสม ด้านปัจจัย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคคล 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านทรัพยากร อุปกรณ์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยภาพรวมระดับความพร้อม/ความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, σ=0.60)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากทั้ง 4 ด้าน และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินระดับความพร้อม/เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านความพร้อมของบุคคลากร (Man) (µ = 4.49, σ=0.61) รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดการดำเนินโครงการ (Method) (µ = 4.43, σ=0.45) ด้านความพร้อมของเครื่องมือเทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ (Material) (µ = 4.39, σ=0.48) และด้านความพร้อมของงบประมาณ (Money) (µ = 4.31, σ=0.51) ตามลำดับ

2. ด้านกระบวนการ (Process)
การประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ด้านกระบวนการ (Process) ระดับการปฏิบัติ ด้านกระบวนการ4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวางแผน(Plan) 2) การดำเนินกิจกรรมการนิเทศในชั้นเรียน (Do)3) การตรวจสอบและประเมินผล (Check) และ4) การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน (Act) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.75, σ=0.04)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากทั้ง 4 ด้าน และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ขั้นตรวจสอบและประเมินผล (Check) (µ = 4.82, σ=0.05) รองลงมา ได้แก่ ขั้นทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงาน(Act)(µ=4.80,σ=0.11) ขั้นดำเนินกิจกรรมการนิเทศในชั้นเรียน (Do) (µ = 4.80,σ=0.11) และขั้นการวางแผนกำหนดงาน(Plan) (µ = 4.62, σ=0.13) ตามลำดับ

3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (output)
การประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ด้านผลผลิต (output) ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1)ด้านการเตรียมการสอน 2)ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3)ด้านการสื่อ/นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การสอน และ 4)ด้านการวัดและประเมินผล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ระดับพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียนโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.74, σ=0.10)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากทั้ง 4 ด้าน และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า พฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียนที่ปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การเตรียมการสอน (µ = 4.94, σ=0.07) รองลงมา ได้แก่ ด้านการเตรียม/การใช้สื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การสอนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.92, σ=0.06) และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.72, σ=0.13) และด้านการวัดผลประเมินผลผู้เรียน ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ = 4.74, σ=0.10) ตามลำดับ

4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes)
การประเมินโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ด้านผลลัพธ์ (Outcomes) จำแนกออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
4.1 ระดับความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชั้นเรียนโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ผลการวิเคราะห์ โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.50 , σ=0.67)

เมื่อพิจารณาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 13 ครูส่งเสริมให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ (µ = 4.55 , σ=0.67) รองลงมาใน ข้อที่ 10,12 ,14 มีระดับความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุดเท่ากัน ได้แก่ ครูใช้วิธีการสอนและใช้สื่ออย่างหลากหลาย ให้ความสนใจแก่นักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอน และตั้งใจสอน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำกิจกรรม (µ = 4.54 , σ=0.64) รองลงมาในข้อที่ 16,17,18,19 มีระดับความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุดเท่ากัน ได้แก่ ครูเข้าสอนและออกตรงเวลา ครูแจ้งเกณฑ์การประเมินผลล่วงหน้าให้นักเรียนทราบเสมอ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียน มีประเมินผลอย่างยุติธรรม (µ = 4.53 , σ=0.67) รองลงมา ได้แก่ ข้อที่ 6 ครูส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและรายบุคคล ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.53 , σ=0.67) รองลงมา ได้แก่ ข้อที่ 1,5 ได้แก่ ครูมีการเตรียมการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (µ = 4.49 , σ=0.67) รองลงมา ได้แก่ ข้อที่ 7,9,15,20, ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และร่วมกันอภิปราย เปิดโอกาสนักเรียนซักถามปัญหาประกอบกับครูมีบุคลิกภาพ การแต่งกายและการพูดจาเหมาะสม ทำให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข อยู่ในระดับมาก (µ = 4.48 , σ=0.66) รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 8 ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สนุกและน่าสนใจอยู่ระดับมาก (µ = 4.47 , σ=0.69) รองลงมา ได้แก่ ข้อที่ 2 ครูมีการจัดบรรยากาศห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (µ = 4.45 , σ=0.69) และลำดับสุดท้าย ได้แก่ ข้อที่ 3,4 เนื้อหาที่สอนทันสมัยนำไปใช้ได้จริงและครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ชัดเจนทุกครั้งในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.42 , σ=0.73) ตามลำดับ

4.2 ระดับความพึงพอใจต่อโครงการนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ผลการวิเคราะห์ โดยภาพรวมระดับความพึงพอใจต่อโครงการนิเทศภายในของโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.42 , σ=0.643)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากทั้ง 4 ด้าน พร้อมเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า มีความพอใจต่อผลการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศ (output /outcome และ impact) อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.50,σ=0.86) รองลงมา ได้แก่ ด้านการตรวจสอบและประเมินผลการนิเทศตามโครงการ (Check/Action) และด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและการวางแผนดำเนินการ (PLAN) อยู่ในระดับมาก (µ = 4.40 , σ=0.72) และด้านการปฏิบัติงานและการนิเทศ (DO) อยู่ระดับมาก (µ = 4.39 , σ=0.04) ตามลำดับ


คำสำคัญ : การประเมินโครงการ, การนิเทศภายในโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ, ทฤษฎี IPOO,ความพึงพอใจ


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^