ผลงานวิชาการ นางฑิตยา คำพรมมา
ผู้วิจัย นางฑิตยา คำพรมมา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา สำนักการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน 2) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 2) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 3) บทเรียนออนไลน์ 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 16 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.27 - 0.73 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.26 - 0.89 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 6) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ มีอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.24 – 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วย t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า ครูและนักเรียนต้องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี เนื้อหาและเกิดการ เรียนรู้ได้ แม้จะอยู่ที่บ้านหรือสถานที่อื่น ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดจากงาน หรือปัญหาที่ได้รับมอบหมาย และมีการนากลับมาในชั้นเรียนเพื่อสอบถามกับครูเพื่อขอข้อเสนอ เป็นการเอื้อให้นักเรียนและครูผู้สอนสามารถเรียนรู้ได้จากบ้านพัก เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เป็นสื่อนวัตกรรม เป็นแนวทางในการประกอบการเรียนการสอนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์อย่างมีคุณภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.10/83.89 ซึ่งถือว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7238 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.38
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด