การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน HN M
ชื่อผู้วิจัย นางทิพวรรณ จันดี ผู้อ านวยการโรงเรียนวัดบางดี
ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้4HN Model โรงเรียนวัดบางดี จังหวัดตรัง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) ศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้4HN Model (2) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้4HN (3) ศึกษาคุณภาพ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู
ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้4HN Model โรงเรียนวัดบางดี จังหวัดตรัง หลังการใช้4HN Model และ (5) ศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 เดือนพฤษภาคม 2562 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2563 ต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 117 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 117 คน ครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 100 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 115 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน และปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม ที่มีลักษณะ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่า ความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง 0.88-0.97 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา แบบบันทึกผลการทดสอบ ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบ บันทึกผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน โดย ใช้ 4HN Model โรงเรียนวัดบางดี จังหวัดตรัง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ใน ระดับปานกลาง-มาก เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X=3.70 , S.D. = 0.76) รองลงมา คือ ผู้ปกครอง อยู่ใน ระดับมาก(X=3.52 , S.D. = 1.13) เช่นกัน ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ใน ระดับมาก (X= 4.45, S.D. = 0.50) รองลงมาคือ ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X =4.37, S.D.=0.64) และ (X=4.37, S.D.=0.66) ตามล าดับ สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ 4 HN Model โรงเรียนวัดบางดี จังหวัดตรัง หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ปี การศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง-มาก เมื่อพิจารณาจำแนก เป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2562 กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X=3.71 , S.D. = 1.02) อยู่ใน ระดับมาก รองลงมา คือ ผู้ปกครอง (X=3.50 , S.D. = 1.14) อยู่ในระดับปานกลาง ปีการศึกษา 2563 โดย ภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X= 4.28 , S.D. = 0.71) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ผู้ปกครองนักเรียน (X=4.26, S.D.=0.72) อยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ผลการศึกษาคุณภาพของผู้เรียน ได้แก่
3.1 ผลการประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.26 ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.53 สอดคล้อง ตามสมมุติฐาน
3.2 ผลการประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-Net) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.40 และปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 47.54 โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ +23.17 สอดคล้องตามสมมุติฐาน 3.3 ผลการประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของ
ผู้เรียน ปีการศึกษา 2562 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 80.19 ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินสมรรถนะ สำคัญของผู้เรียน ทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 81.10 สอดคล้องตามสมมุติฐาน 3.4 ผลการประเมินตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 97.54 ปีการศึกษา 2563 พบว่าโดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 99.55 สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการที่มีต่อการพัฒนาการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพ ผู้เรียนโดยใช้4HN Model โรงเรียนวัดบางดี จังหวัดตรัง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุก กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง-มาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด (X= 3.65 , S.D. = 0.71)อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ นักเรียน (X= 3.50 , S.D. = 1.12) อยู่ในระดับปานกลาง ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่ม ที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด (X= 4.46 , S.D. = 0.62) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ เครือข่ายชุมชน (X= 4.37, S.D. = 0.69) อยู่ในระดับมากเช่นกัน สอดคล้องตามสมมุติฐาน
5. ผลการศึกษาผลกระทบเชิงบวก หลังการพัฒนา ที่ปรากฏต่อโรงเรียนวัดบางดีผู้บริหาร สถานศึกษา ครู และนักเรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับการประกาศ เกียรติคุณ จากองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งระดับชาติ ระดับภาค/จังหวัด/เขตตรวจราชการ และ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 35 รายการ สอดคล้องตามสมมุติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้4HN Model โรงเรียน วัดบางดี จังหวัดตรัง ครั้งนี้ ทำให้ค้นพบจุดเด่นคือ จุดเด่นด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในด้านต่างๆ 4HN Model ซึ่งเป็นประโยชน์ในเป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และพัฒนาคุณภาพของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้
1.1 HN1(Head Network) กิจกรรมด้านการพัฒนาสมอง
การดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาสมอง ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และ ควรประเมินคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการพัฒนา และเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
1.2 HN2(Heart Network) กิจกรรมด้านการพัฒนาจิตใจ
โรงเรียนควรชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู
ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายชุมชน ให้รับทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการ ดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาจิตใจ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการให้การส่งเสริมสนับสนุนในการ ดำเนินกิจกรรม ทั้งกระบวนการและบทบาท และการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาให้มีความอย่าง ยั่งยืน
1.3 HN3(Hand Network) กิจกรรมด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
การดำเนินกิจกรรมด้านทักษะการปฏิบัติ ฐานกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ควรดำเนินการ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรประเมินคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัดที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการ พัฒนา และเสริมสร้างขวัญกำลังใจ ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
1.4 HN4(Health Network) กิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพ
โรงเรียนควรชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู
ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายชุมชน ให้รับทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการ พัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2.2 ควรศึกษารูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดย อาศัยการมีส่วนร่วมในลักษณะอื่นๆ เพื่อสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง