การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ : Best Practice TES
TESSABAN 1 ของโรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก)
ชื่อผู้เขียน นายปัญจรัช เพียพินเพิ่ม
ตําแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก)
1. ความเป็นมาและความสำคัญของนวัตกรรม
กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวิทยาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้แต่ละประเทศไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยลำพัง ต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบันนอกจากนั้น ยังต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ ในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม อุบัติภัยต่าง ๆ โรคระบาดที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อมนุษย์โดยทั่วไป และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับความปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้แต่ละประเทศทั่วโลกต้องเตรียมรับกับปัญหาและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเตรียมพร้อมกับ Next Normal การศึกษาในยุคนี้จะไม่เป็นเพียงทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับตัวอย่างมากด้วยความจำเป็นที่ต้องพัฒนาทักษะการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการศึกษามากขึ้น การเรียนออนไลน์จะไม่สามารถทดแทนการเรียนในชั้นเรียนได้ทั้งหมด และการเรียนออนไลน์ที่ดีไม่ใช่การคัดลอกในห้องเรียนมาไว้ในแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นสำคัญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็น ต้องส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับรัฐ จัดการศึกษาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง” ที่มุ่งพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และสนองตอบต่อการบรรลุซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้างความสุข ของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรม สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะแลความสามารถในการปรับตัว มีคุณลักษณะสำคัญในการ ดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างเท่าทัน มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมและพอเพียง สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ได้กำหนดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาไว้ว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุน ให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการ และตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญ ได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. 2561 : 1)
โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) จึงนำการบริหารด้วยรูปแบบ TESSABAN 1 Model มาพัฒนาให้เป็นโรงเรียนคุณภาพบนพื้นฐานปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในการดำเนินการ การวิเคราะห์ ความพอประมาณด้านงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในการดำเนินโครงการความพอเพียงของครูและบุคลากร หลักการและเหตุผลในการดำเนินโครงการ ความคุ้มค่า ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ มีการวางแผนการทำงานตามวงจร PDCA เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ให้กับการทำงาน นอกจากนี้ยังบริหารจัดการโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมและหลักธรรมาภิบาล ตามเงื่อนไขคุณธรรม มีการกำกับ ติดตามและประเมินผลอย่างรอบคอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนิน การพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพการปฏิบัติงานสูงขึ้น ปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับ ผู้เรียนและและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ครูและ บุคลากรของโรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณภาพนำมาใช้ในการยกระดับ คุณภาพการศึกษาอันจะส่งผลต่อผู้เรียนอันเป็นประโยชน์สูงสุดและพัฒนาคุณภาพขององค์กร ต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ : Best Practice TESSABAN 1 ของโรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก)
2. เพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ : Best Practice TESSABAN 1 ไปใช้ในโรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก)
3. กรอบแนวคิดการออกแบบนวัตกรรม (Plan)
นวัตกรรม TESSABAN 1 Model รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยนำรูปแบบ TESSABAN 1 Model มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน และดำเนินงานการ บริหารจัดการให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของโรงเรียน โดยใช้เทคนิคกระบวนการวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง PDCA และทฤษฎีระบบ (System Theory) มาพัฒนารูปแบบนวัตกรรมพร้อมกับการพัฒนาองค์กร ดังนี้
องค์ประกอบโมเดล ความหมาย
T=Techology การใช้เทคโนโลยี
E=Environment สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้
S=Strategic การบริหารเชิงกลยุทธ์
S=School network การพัฒนาเครือข่าย
A=Achievement การมุ่งผลสัมฤทธิ์
B=BLENDED LEARNING การเรียนรู้แบบผสมผสาน
A=Attitude การมีทัศนคติที่ดี
N=New normal การเรียนรู้แบบปกติรูปแบบใหม่
1=One of the best Quality school โรงเรียนคุณภาพที่ดีที่สุด
P1 = Product คุณภาพผู้เรียน
P2 = Price การเพิ่มประสิทธิภาพ
P3 = Place จุดยืนที่ก้าวหน้า
P4 = Promotion แรงจูงใจ