การประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) สู่ความยั่ง
ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นายอาหลี รอเกตุ
รองผู้อำนวยการโรงเรียนควนโดนวิทยา จังหวัดสตูล
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) สู่ความยั่งยืน โรงเรียนควนโดนวิทยา ปีการศึกษา 2564 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วยระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการ การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการ พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ และความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการประกอบด้วย นักเรียน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan 1970 : 608) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น และสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยวิธีจับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน ครู ซึ่งใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 คน ผู้ปกครอง ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ รวมทั้งหมด 8 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 4 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.970 – 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) สู่ความยั่งยืน โรงเรียนควนโดนวิทยา ปีการศึกษา 2564 สรุปผลดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.71 , Sigma = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.62 , S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของครู โดยรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.61 , Sigma = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.50 , Sigma = 0.50) อยู่ในระดับมาก และด้านผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 4.04 , Sigma= 0.57) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.57 , Sigma = 0.54) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.54 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x-bar = 4.29 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.76 , Sigma = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียน มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.66 , S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x-bar= 4.63 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.66 , Sigma= 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.60 , S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x-bar = 4.47 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการ จำแนกเป็น
4.3.1 ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 7.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.57 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย (x-bar = 4.56 , S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการ โดยครูเป็นผู้สังเกต โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีเยี่ยม (μ = 3.60 , Sigma = 0.59) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 7.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ให้มีความสะอาด สวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 3.68 , Sigma= 0.50) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาคือ รายการนักเรียนคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง มีค่าเฉลี่ย (μ = 3.66 , Sigma
= 0.63) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และรายการนักเรียนจัดทำธนาคารขยะ ได้แก่ กระดาษ ขวดพลาสติก เพื่อจำหน่ายและสู่การแปรรูปต่อไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (μ = 3.54 , Sigma = 0.58) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.63 , Sigma = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.61 , S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x-bar = 4.54 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1. สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการและสอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียนในกระบวนการจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากห้องเรียนสู่การฝึกปฏิบัติจริงด้วยกิจกรรมที่เป็นไปได้ มีความหมายต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีและสามารถแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม
2. สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกที่ดีและความมีวินัยให้เกิดกับนักเรียนเพื่อเป็นคุณสมบัติพื้นฐานในการสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนในทางที่ชอบจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย
3. สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะเพื่อร่วมกันสร้างสังคมไร้ขยะในอนาคตต่อไป
4. สถานศึกษาควรให้ความสำคัญและนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผล
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมที่สะท้อนจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่าง
ยั่งยืน
2. ควรศึกษาแนวทางการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดกับผู้เรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม