การประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียน สั
ผู้รับผิดชอบ ภานุมาศ ยาไทยสงค์
ระยะเวลาการประเมินโครงการ 2563-2564
1. ความสำคัญของการประเมินโครงการ
การวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อตอบปัญหาอย่างมีระบบและ
มีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ส่วนนวัตกรรมเป็นการผลิตการเรียนรู้
การจัดการความรู้และการใช้ประโยชน์จากความรู้ความคิดใหม่นวัตกรรมเกิดจากองค์ความรู้ใหม่หรือความคิดใหม่สิ่งเหล่านี้มาจากกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่หรือเกิดจากการวิจัยดังนั้นการทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันการวิจัยทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ปัจจุบันการวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่สำหรับการพัฒนาองค์กรมีความสำคัญมากทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 คือ หน่วยงานหนึ่งของรัฐ
ที่ต้องการสร้างนวัตกรรมมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งยังขาดการส่งเสริมสนับสนุนรวมทั้งการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เมื่อบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในประโยชน์ และสามารถทำการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยในการจัดการเรียนการสอนทำให้ครู นักเรียน ชุมชนและประเทศชาติได้ประโยชน์ ตรงกับแนวคิดของนัทธมน ธีระกุล (2557: 16) กล่าวว่า การวิจัยช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยพิสูจน์ หรือตรวจสอบความถูกต้องของ กฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎี ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ และพฤติกรรม ช่วยแก้ไข ปัญหาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ช่วยการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ส่วนวุฒิพงษ์ ภักดีเหลา (2554: 9) กล่าวว่า นวัตกรรมเป็นการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างหรือปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการจัดการและสิ่งอื่น ๆ ทำให้เกิดสิ่งใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าและตลาด โดยนวัตกรรมเป็นตัวสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและผลกำไรให้กับองค์การใน ระยะยาว จากความเป็นมา ปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้ประเมินโครงการในฐานะศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 ขึ้นเพื่อ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและนักเรียน ได้พัฒนาตนเองเพื่อยกระดับตัวบ่งชี้ที่ 4 และตัวบ่งชี้ที่ 5 ให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์เพียงใดโดยใช้ทฤษฎี CIPPIE MODEL ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (D. L. Stufflebeam) แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้านหลัก 1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context: C) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input: I) 3) ด้านกระบวนการ (Process: P) และ 4) ด้านผลผลิต (Product: P)
3. วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอน จำนวน 14 คน ผู้บริหาร จำนวน 14 คน และนักเรียน จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการเป็นแบบประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ใช้กับ ผู้บริหารและครูหลังสิ้นสุดโครงการ ฉบับที่ 2 ใช้กับนักเรียนหลังสิ้นสุดโครงการ และฉบับที่ 3 ใช้กับผู้บริหารและครูหลังสิ้นสุดโครงการแล้ว 1 ปี สถิติที่ใช้สำหรับการประเมินโครงการได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4. ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม ใช้กับครู พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่าข้อ 8 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือข้อ 6 การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ ส่วนข้อ 2 โครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 ช่วยส่งเสริมให้ครูได้สร้างสื่อเพื่อใช้จัดการเรียนการสอนและแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ใช้กับครู พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อ 8 มีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อ 4 วิทยากรมีความรู้ ทักษะในการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ส่วนข้อ 6 มีทุนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมจากภายนอกมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
3. ด้านกระบวนการ ใช้กับครู พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อ 5 มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานทุกกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมาคือข้อ 7 มีการรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ส่วนข้อ 3 มีการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมตามแผน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4. ด้านผลผลิต ใช้กับผู้บริหารและครู พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณา เป็นรายข้อพบว่า ข้อ 8 ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และรองลงมาคือข้อ 16 ครูมีทักษะการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำคลิป สื่อนวัตกรรมให้แก่นักเรียน ส่วนข้อ 20 ครู นำคลิป สื่อนวัตกรรมที่ผ่าน กระบวนการวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด
ผลการประเมิน โครงการในระยะที่ 2 ด้านผลผลิต ใช้กับผู้บริหารและครูพบว่า ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 ด้านผลผลิตหลังการสิ้นสุดโครงการได้ 1 ปี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อ 8 ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ข้อ 16 ครูมีทักษะการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทำคลิป สื่อนวัตกรรมให้แก่นักเรียน ส่วนข้อ 20 ครู นำคลิป สื่อนวัตกรรมที่ผ่าน กระบวนการวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
จากผลการประเมินพบว่าโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เห็นควรให้มีการปรับปรุงพัฒนา ทุกด้านให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกประเด็นในแต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยสูงสุดโดยเฉพาะประเด็นต่อไปนี้
ด้านสภาวะแวดล้อม ใช้กับผู้บริหารและครู ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนการจัดการ เรียนการสอน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านนักเรียน ผู้บริหาร ควรมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโครงการให้มากขึ้น ด้านปัจจัยนำเข้า ใช้กับครู ควร ปรับกิจกรรมในการดำเนินงานกับเวลาให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ส่วนด้านนักเรียน ผู้บริหาร ควรปรับสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้มากขึ้น ด้านกระบวนการ ใช้กับ ผู้บริหารและครู ผู้บริหารควรให้มีการนิเทศและให้คำปรึกษาระหว่างการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนด้าน นักเรียน ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการสรุป รายงานผล รวมทั้งนำข้อเสนอแนะมา ปรับปรุงการทำงานตามกำหนดเวลา ด้านผลผลิต ใช้กับผู้บริหารและครู ผู้บริหาร ควรเน้นด้านการ ถ่ายทอดความสำเร็จสู่ชุมชนและสังคมเพิ่มขึ้น ส่วนด้านนักเรียน ผู้บริหารควรเน้นด้านการ ถ่ายทอดความสำเร็จสู่ชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 พบว่าประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการคือครูและนักเรียน ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการสร้างคลิป สื่อนวัตกรรมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาและ ได้รับรางวัลทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศหลายรายการ ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว
มีผลมาจาก
1. ผู้บริหารให้การส่งเสริมสนับสนุน ในการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะ
การถ่ายทอดมาให้ความรู้
2. ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านงบประมาณที่เพียงพอเหมาะสม และจัดแหล่งเรียนรู้ เพิ่มเติมให้แก่ครูและนักเรียน
3. ผู้บริหารมีการบริหารอย่างเป็นระบบ คือ มีการศึกษาสภาพปัญหาเป็นรายบุคคล และ นำมาหาแนวทางแก้ไข มีแผนในการดำเนินกิจกรรมชัดเจน ดำเนินการตามแผน มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ให้ความช่วยเหลือและเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง