รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสมถวิลจินตมัย
บ้านห้วยแล้ง(ตชด.อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพรรณิภา ประยูรคำ
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2564
การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสมถวิลจินตมัยบ้านห้วยแล้ง(ตชด.อนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างเป็นระบบ 5 ด้าน คือ 1) ประเมินบริบทของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการ 4) ประเมินผลลัพธ์ของโครงการ 5) ประเมินผลกระทบของโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 38 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 38 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งหมด 90 คน และกลุ่มเป้าหมายที่สัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนฯ คณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 12 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลบริบท ตัวชี้วัด ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ และเก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ ผลกระทบ จากแบบบันทึก แบบรายงานซึ่งผลการประเมินโครงการฯปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการฯ พบว่า ภาพรวมทั้งโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ซึ่งผลการประเมินเป็นรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ ดังนี้
1.1 การประเมินบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโครงการ ส่วนผลการประเมินบริบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ความต้องการจำเป็นของโครงการ
1.2 ด้านผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า พบว่า ผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า ตาม ความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร อาคารสถานที่มีความพร้อมและพอเพียงในการจัดกิจกรรม และ ความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการส่วนผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม ในระดับมาก เมื่อพิจารณา ตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร อาคารสถานที่มีความพร้อมและพอเพียงในการจัดกิจกรรม และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ
1.3 ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินกระบวนการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรและการนิเทศติดตามประเมินผล และผลการประเมินกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาบุคลากรการนิเทศติดตามประเมินผล
1.4 ผลการประเมินผลลัพธ์ พบว่า ผลการประเมินผลลัพธ์ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสอนแบบโครงงาน การใช้แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการสอนแบบร่วมมือ และการวิจัยใน ชั้นเรียน ส่วนผลการประเมินผลลัพธ์ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาพรวม ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสอนแบบโครงงาน การใช้แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการสอนแบบร่วมมือ นอกจากนี้ ผลการประเมินผลลัพธ์ ตัวชี้วัดความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
1.5 ผลการประเมินผลกระทบ พบว่า ผลการประเมินผลกระทบตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ของผู้เรียน พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้ความสามารถในการทำโครงงานของผู้เรียน และ ผลการประเมินผลกระทบตามความคิดเห็นของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ภาพรวม ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ของผู้เรียน พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนความรู้ความสามารถในการทำโครงงานของผู้เรียน