ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็
ชื่อเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ
ชื่อผู้วิจัย นายไพฑูรย์ แจ่มพันธ์
ปีการศึกษา 2564
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สร้าง และประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 63 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 35 คน ในการสร้างยุทธศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ในการประเมินยุทธศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ แบบประเมินยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ มีการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 4.06) การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.01) การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18) และ การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)
2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ โดยการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่นำมาสร้างเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ได้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม และ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนเห็นด้วยและสนับสนุนทุกข้อกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ
3. ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ ด้านความเหมาะสม พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.44) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ และยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50) เท่ากัน รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43) และยุทธศาสตร์ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมน้อยที่สุด ( = 4.31)
ด้านความเป็นไปได้ พบว่า โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.16) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.22) รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.18) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.14) และยุทธศาสตร์ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้น้อยที่สุด ( = 4.11)