เผยแพร่ผลงานวิชาการ
การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model)
ผู้ประเมิน นายอดิศร์ กาญจนไพริน
รองผู้อำนวยการโรงเรียนแสนสุข
หน่วยงาน โรงเรียนแสนสุข
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ของการประเมิน 1).เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
2).เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 3).เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 4).เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 108 คน โรงเรียนแสนสุข ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (ก่อนดำเนินการ) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอผยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 5 อันดับ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างของการนิเทศภายใน ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนด ผู้เกี่ยวข้องต้องการให้ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องต้องการให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (ก่อนดำเนินการ) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 5 อันดับ ได้แก่ โรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้อย่างสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีนโยบายชัดเจนในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้อย่างมีความ เป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติงานและสอดคล้องกัน และ โรงเรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการได้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและชุมชน
3. ด้านกระบวนการ (ขณะดำเนินการ) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 5 อันดับ ได้แก่ โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนจัดกิจกรรมตามมาตรฐานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา โรงเรียนมีการรายงานผลการดำเนินงานโครงการตามระยะ เวลาที่กำหนด โรงเรียนดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ตามขั้นตอนและ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ และ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ด้านผลผลิต (หลังดำเนินการ) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 6 อันดับ ได้แก่ ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำและมีความ สามารถในการบริหารจัดการศึกษา สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย