การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง
เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา
ผู้ศึกษา : นางสาวนูรีณ เจ๊ะโซะ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 และ 2 โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเสียง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.97/76.30 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53