รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ
โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวณัฐธยาน์ วันภักดี
สถานศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ
ปีที่รายงาน 2564
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ของโครงการ ด้านปัจจัย
นำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และ ด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบ
การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครู จำนวน 80 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 336 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 336 คน โดยใช้วิธีการประเมิน สามลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถาม ใช้ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ผลการประเมินจากแบบบันทึกผลการระดมทรัพยากรตามสภาพจริง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน
6 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับจำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากร จำนวน 4 ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X-Bar=10= 4.52, S.D. = 0.73) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด รองลงมา ได้แก่
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก ("X" ̅ = 4.51, S.D. = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย
15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-Bar= 4.39, S.D. = 0.82) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง โดยรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
(X-Bar = 4.56, S.D. = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-Bar =4.52, S.D. = 0.68) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
(X-Bar- 4.51, S.D. = 0.66) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
4.1.1 ผลการระดมทรัพยากรด้านบุคคล ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ได้รับการสนับสนุนทรัพยากร ด้านบุคคล ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการ ความจำเป็น ของการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ผลการระดมทรัพยากรด้านงบประมาณ ของโครงการระดมทรัพยากร ทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้าน งบประมาณ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อใช้ในการ จัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ในการบริหารจัดการ ตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ผลการระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เพื่อใช้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็น ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาและของผู้รับบริจาค ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ผลการระดมทรัพยากร ด้านการบริหารจัดการ ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 สามารถระดมทรัพยากรด้านการบริหารจัดการโดยการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารจัดการสถานศึกษา ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วม ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564
ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่ม ที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา รายกลุ่ม พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ("X" = 4.55, S.D. = 0.71) ได้คะแนนเฉลี่ย
20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ("X" = 4.52, S.D. = 0.62) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ส่วน ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ("X" = 4.50, S.D. = 0.74) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน
ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ("X" = 4.50, S.D. = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น ตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ("X" = 4.47, S.D. = 0.74) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วน ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ("X" = 4.46,
S.D. = 0.79) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน วัดทรงธรรม ปีการศึกษา 2564 พบว่า ทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์
การประเมิน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์
ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีความเหมาะสม ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ("X" = 4.47, S.D. = 0.74) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ นักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ("X" = 4.46, S.D. = 0.79) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ("X" = 4.45, S.D. = 0.75) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด