รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนัก
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินมีจำนวนทั้งสิ้น 996 คน แบ่งเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 471 คน ครู จำนวน 46 คน ผู้ปกครอง จำนวน 466 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.835 – 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar= 4.76 , S.D.= .39) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบวว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.80 , S.D.= .39) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครู ( x-bar = 4.73 , S.D.= .32) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูพบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.72 , S.D.= .33) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.63 , S.D.= .33) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.65 , S.D.= .33) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน และกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( x-bar = 4.62 , S.D.= .34) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 3 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( x-bar = 4.69 , S.D.= .33) และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.73 , S.D.= .38) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( x-bar = 4.71 , S.D.= .37) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x-bar = 4.64 , S.D.= .42) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองพบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( x-bar = 4.60 , S.D.= .64) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.65 , S.D.= .62) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง ( x-bar = 4.56 , S.D.= .70) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “MIND” โรงเรียนบ้านควนเนียง ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.75 , S.D.= .39) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x-bar = 4.79 , S.D.= .35) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ครู ( x-bar = 4.77 , S.D.= .35) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x-bar = 4.71,S.D.= .39) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
1.2 โรงเรียนควรขยายผลการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างยั่งยืน
1.3 โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอีกทั้งมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ “MIND” เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา