พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
The Developing Model for Teacher Knowledge of Project-based Learning Management in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality
นางรังสิมา พิทักษ์วาปี
Mrs.Rungsima Phithakwapee
โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality
E-mail1 tphithakwapee@hotmail.com Tel 0813 7513 08
>> บทคัดย่อ <<
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียน เทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการการวิจัยและพัฒนา R & D (Research and Development) พัฒนาตามหลักการแนวคิดการพัฒนาครูการสอน (Instruction Coaching) การพัฒนาครูมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Solutions-Focused Coaching) การพัฒนาครูแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) การสะท้อนผล (Reflection) และชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) นำมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครูและสภาพการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และ 4) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 21 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 จำนวน 582 คน เครื่องมือประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการการพัฒนาครูประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ประเมินครู ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของครู คือ แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานและแบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู และ 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
>> Abstract <<
The current study was developed in the research and development (R&D) approach following the principles of instructional coaching, solution-focused coaching, peer coaching, reflection, and professional learning community. The study consists of 4 phases including 1) the study of theories and principles in developing teachers’ knowledge of project-based learning management in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality, 2) the development of a model for developing teachers’ knowledge of project-based learning management in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality, 3) the trial stage of the model for developing teachers’ knowledge of project-based learning management in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality, and 4) the implementation of the model for developing teachers’ knowledge of project-based learning management in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam under Chonburi Town Municipality. The sample included a group of 21 grade 5-9 teachers and a group of 582 grade 7-9 students. The instruments included 1) teacher evaluation instruments including a teacher knowledge evaluation form focusing on assessing the ability to design learning management with the principles of project-based learning and the ability to manage learning activities, and 2) a student evaluation form including learning achievement evaluation after learning with the model. The instruments were validated by experts in the area before being utilized. The data were analyzed using percentages, mean scores, and standard deviation. The qualitative data were analyzed by content analysis.
>> วัตถุประสงค์การวิจัย <<
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครู และสภาพการพัฒนาครูด้านการจัด การเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
2. เพื่อศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาล อินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
4. ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ดังนี้
4.1 เปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของครูผู้รับการพัฒนาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
>> ผลการวิจัย <<
วัตถุประสงค์ที่ 1. ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปฏิบัติน้อย ( = 2.23, S.D.= 0.85)
วัตถุประสงค์ที่ 2. ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบและพัฒนาได้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญาวัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นวิธีการหรือกระบวนการในการพัฒนาครูตามทฤษฎีหลักการและแนวคิดการพัฒนาครู (Coaching) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ (Principle of Model) 2) วัตถุประสงค์ ของรูปแบบ (Objective of Model) 3) ขั้นตอนการพัฒนาครู (Process of Coaching) 4 ขั้นตอนได้แก่ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนาครู (Pre Coaching) ขั้นที่ 2 การพัฒนาครู (Coaching) ขั้นที่ 3 การทบทวน (Review) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (Reflection) 4) ปัจจัยสนับสนุน (Support System) ได้แก่ ผู้บริหารมีทักษะเป็นผู้ชี้แนะครูผู้รับการพัฒนาครูสภาพแวดล้อมด้าน ICT ที่สนับสนุน ผลการประเมิน รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่ อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พบว่า การประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ย 4.00 ถึง 4.60 ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
วัตถุประสงค์ที่ 3. ผลการวิจัย พบว่า การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พบว่า ครูมีทักษะด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบทุกคน โดยอยู่ในระดับมากที่สุดโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.56, S.D. = 0.50) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
วัตถุประสงค์ที่ 4. ผลการวิจัย พบว่า การใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พบว่า
4.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ครูผู้รับการนิเทศ ทั้ง 21 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบทุกคน
4.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครูผู้รับการนิเทศทั้ง 21 คน พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นโดยก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี นักเรียนมีผลคะแนนโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 9.22 และหลังการใช้รูปแบบนักเรียนมีผลคะแนนโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 14.35 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี สูงกว่าคะแนนก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01