ส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยก
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวศุภิสรา ทองมล
โรงเรียน บ้านควนสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3
โทรศัพท์ 093-6086285
e-mail supisara1509@gmail.com
ประเภทผลงาน
• ผู้บริหารสถานศึกษา
ครูผู้สอน
1. ความสำคัญของผลงาน/การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านควนสูงพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง 2560 กำหนดหลักเกณฑ์การจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่เกี่ยวกับการอ่าน การเขียน คือ ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับที่ผ่านเกณฑ์ ทักษะการอ่านและการเขียนเป็นเครื่องที่ใช้ในการสื่อสารและเป็นทักษะพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเป็นนโยบายซึ่งระบุไว้ในด้านที่ 3 ด้านคุณภาพ โดยสรุปคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะการเรียนเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นของโลกในศตวรรษที่ 21 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กำหนดจุดเน้นให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออก เขียนได้ และโรงเรียนบ้านควนสูงก็เห็นความสำคัญในการอ่าน การเขียน ได้ประกาศเป็นนโยบาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออก เขียนได้
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งไม่สามารถจัดในรูปแบบให้นักเรียนมาเรียนตามปกติ เต็มเวลาได้ ( on site) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เปิดเรียนปกติได้ในระยะเวลาสั้น ๆ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเพิ่งเริ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นช่วงของการปรับพื้นฐานให้กับนักเรียน
ซึ่งดำเนินการได้ในระยะอันจำกัดก็ต้องหยุดเรียนไป ทำให้เป็นอุปสรรคในการสอนรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงนักเรียนทุกคนได้ ซึ่งแต่ละคนก็มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน แต่ด้วยสถานการณ์ที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความพร้อมของนักเรียนแต่ละคน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองและเพื่อนนักเรียนด้วยกัน จึงเกิดเป็นกิจกรรม 3 R
2. จุดประสงค์และเป้าหมาย ของการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19
2. สร้างโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19
3. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ “ครูผู้ปกครอง”
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 81.08 มีผลทดสอบการอ่าน และการเขียน ในระดับดีขึ้นไป
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการทดสอบ RT สูงกว่าระดับประเทศ
3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน ( 30 คะแนน )
ขั้นตอนการดำเนินงาน
จากการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรม 3 R ของโรงเรียนบ้านควนสูงได้ใช้หลักการจัดการคุณภาพ โดยใช้กระบวนการ PDCA เป็นตัวขับเคลื่อนมีกระบวนการทำงาน โดยยึดหลักการในการทำงานได้แก่ การวางแผนปฏิบัติการ(P –Plan) การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ (D- Do) การตรวจสอบประเมินผล (C – Check) และการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ( A – Action ) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 วางแผนการจัดกิจกรรม (P –Plan)
3.1.1 ประชุมชี้แจงผู้ปกครองนักเรียน เพื่อทำความเข้าใจ และข้อความร่วมมือ ในฐานะผู้ปกครอง
3.1.2 สำรวจความพร้อมในการเข้าเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นรายบุคคล
3.1.3 จัดทำตารางสอนที่สอดคล้องกับความพร้อมของนักเรียนทุกรูปแบบการจัดการเรียนรู้
3.1.4 จัดเตรียมสื่อ เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
3.2 ดำเนินการตามแผน (D- Do)
ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตารางที่จัดเตรียม เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน ดังนี้
3.2.1 ครูเข้าสอนนักเรียนตามปฏิทินส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ แล้วมอบหมายชิ้นงานหรือภาระงานให้กับนักเรียน (กรณีเรียนออนไลน์) ครูอธิบายชิ้นงานหรือภาระงานเพื่อให้นักเรียนนำชิ้นงานหรือภาระงานนำกลับไปทำที่บ้าน (กรณีเรียน on-hand) โดยครูนำกิจกรรม 3R เข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
R1 นักเรียนอ่านเขียนกับครู
R2 นักเรียนอ่านเขียนกับผู้ปกครอง
R3 นักเรียนอ่านเขียนกับเพื่อน
3.2.2 ผู้ปกครองหรือเพื่อนถ่ายภาพชิ้นงานหรืออัดคลิปวิดีโอตามชิ้นงานหรือภาระงานที่ครูมอบหมาย แล้วส่งกลับมายังครูผู้สอน (กรณีเรียนออนไลน์) นักเรียนนำชิ้นงาน ภาระงานตามที่ครูมอบหมายมาส่งครูในสัปดาห์ถัดไป (กรณีเรียน on-hand)
3.3 การตรวจสอบประเมินผล (C – Check)
3.3.1 ครูประเมินชิ้นงานหรือภาระงานของนักเรียนและแจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบเป็นรายบุคคล
3.4 การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน ( A – Action )
3.4.1 นำผลที่ได้จากการจัดกิจกรรม 3 R ไปพัฒนาการอ่านการการเขียนของนักเรียนในปีถัดไป
4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินการ
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลการอ่าน การเขียนผ่านตามตัวชี้วัด
2. นักเรียนมีทักษะการอ่าน การเขียนอยู่ในระดับดี
2. ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในกิจกรรม 3R
ผลสัมฤทธิ์
1. ผลการทดสอบ RT ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านควนสูง สูงกว่าระดับประเทศ
2. ผลการทดสอบคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียน ปีการศึกษา 2564 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 81.08 อยู่ในระดับดีขึ้นไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. โรงเรียนมีเครือข่ายครูผู้ปกครอง
2. นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า Covid-19 ตามความพร้อมของแต่ละบุคคล
3. เป็นแนวทางสำหรับครูภาษาไทยในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
5. ปัจจัยความสำเร็จ
1. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับการดำเนินงาน
2. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม 3R
3. การร่วมกิจกรรมของนักเรียนมีความพร้อม
6. บทเรียนที่ได้รับ
1. การดำเนินงานที่เป็นขั้นตอนและเป็นระบบจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน
2. การดำเนินกิจกรรมต้องอาศัยปัจจัยหลายประการที่สำคัญคือตัวนักเรียน และผู้ปกครอง
3. การดำเนินกิจกรรมที่บรรลุผลสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย
4. ผู้ปกครองนับเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
1. เฟสบุ๊กของโรงเรียนบ้านควนสูง
2. กลุ่มบ้านวิชาการ
3. เว็บไซต์ครูวันดีดอทคอม