การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรีย
ควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
ผู้วิจัย นายจักรี วัฒนะ
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 โดยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมมีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาการดําเนินงาน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา”ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 2) การร่างรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล 3)การตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดําเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา”ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 คือสภาพการดําเนินงานเป็นระบบที่ไม่ชัดเจน มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการดําเนินงาน ขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และมีความต้องการให้โรงเรียนพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2. รูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนควนกาหลงวิทยาคม “นิคมวัฒนา”ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 1) ขอบข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และการส่งต่อ 2) กระบวนการทํางานของระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน ด้วย วงจรคุณภาพ PDCA 3) เกณฑ์และแนวทางการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) โครงสร้างคณะกรรมการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5) บทบาทของหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และ 6) ประสิทธิผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย นักเรียนเป็นคนดี นักเรียน เป็นคนเก่ง และนักเรียนมีความสุข
3. ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่พัฒนาขึ้นพบว่า รูปแบบมีความสมบูรณ์
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 S.D. = 0.19) ซึ่งรายด้านมีรายละเอียดดังนี้
4.1 ด้านทำความรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54. S.D. = 0.30) และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นข้อที่เกี่ยวกับการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อการคัดกรองนักเรียน อยู่ในระดับมาก
4.2 ด้านคัดกรองนักเรียนและนำผลการคัดกรองมาใช้ดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52. S.D. = 0.30) และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นข้อที่เกี่ยวกับครูที่ปรึกษาพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวนักเรียนในด้านต่างๆ และนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรงเรียนดำเนินการป้องกันหรือแก้ไข และให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อยู่ในระดับมาก
4.3 ด้านส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.56. S.D. = 0.21) และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
4.4 ด้านจัดกิจกรรมป้องกัน ช่วยเหลือ และแก้ไข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.32) ) และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นข้อที่เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนสำหรับนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ด้านส่งต่อนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55. S.D. = 0.19) และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นข้อที่เกี่ยวกับมีการส่งต่อนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เกินความสามารถของสถานศึกษา และครูแนะแนวหรือผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อและมีการติดต่อรับทราบ การช่วยเหลือเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก